ประวัติของเครือข่าย
เด็กไทยไม่กินหวาน เป็นเครือข่ายองค์กรและบุคคลหลายกลุ่ม ที่เน้นรณรงค์ให้เด็กๆ ลดการกินหวานลง และให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เครือข่ายฯ เกิดจากการรวมกุล่มของ ทันตแพทย์ กุมารแพทย์ นักโภชนาการและนักวิชาการอิสระหลายสาขา เริ่มต้นช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) เครือข่ายนำความรู้เรื่องโรคภัยจากการกินหวานล้นเกินเสนอสู่สังคม เพราะมีข้อมูลผลสำรวจชัดเจนว่า เด็กไทยจำนวนมากในปัจจุบัน ได้รับน้ำตาลจากการกินขนม นมหวาน นมเปรี้ยวและน้ำอัดลม มากเกินกว่าที่ควร ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้นทุกวัน ซึ่งจะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมาก
เด็กไทยไม่กินหวานพยายามสร้างค่านิยมในการกินแบบใหม่ในหมู่เด็กรุ่นใหม่ ให้ใส่ใจสุขภาพโดยการลดนิสัยการกินหวานๆ ลง การทำงานของเครือข่ายใช้แนวคิดด้านการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อทำให้เด็กๆ เปลี่ยนค่านิยมในการกินได้
ประวัติการรณรงค์
โครงการเด็กไทยไม่กินหวานทำงาน "ขาย" วิสัยทัศน์ "อ่อนหวาน" เพื่อให้สังคมได้เห็นว่าการลดการบริโภคน้ำตาลนั้นทำให้เป็นคนมีคุณภาพ และเป็นที่ปรารถนา ใช้เพลง "เลยต้องอ่อนหวาน" ที่แต่งและร้องโดย เอิ้น (พิยะดา หาชัยภูมิ) เป็นสาระในความบันเทิงซึ่งสอนใจเด็กๆ และผู้ใหญ่ได้ตระหนักและรับรู้ถึงภาระทางสุขภาพจากการกินหวาน และภาวะดีๆ อันเกิดจากการไม่กินหวาน และใช้การแถลงข่าวเพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตื่นตัวเรื่องการกินหวาน
นอกจากนี้มีการสร้างตัวการ์ตูนเพื่อสื่อให้เด็กเข้าใจถึงโทษจากการบริโภคหวานที่มากเกิน น้อยหน่อย มดสีชมพูอ่อนหวาน จึงเป็นตัวแทนเครือข่ายซึ่งพยายามสื่อสารกับเด็กๆ ให้รู้เท่าทันเล่ห์กล และไม่หลงกลกับเหล่าโฆษณา ของแถม รวมทั้งกิเลสของเด็กๆ เอง
ประวัติความเคลื่อนไหวเชิงนโยบาย
ปี 2547 เครือข่ายฯ เสนอให้มีการควบคุมมิให้มีการเติมน้ำตาลลงในนมสูตรสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 3 ปี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำเป็นประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 286 ซึ่งจะทำให้เด็กได้ลิ้มรสหวานคำแรกช้าลง ซึ่งเครือข่ายก็ได้รับจดหมายแสดงความยินดีจาก องค์การอนามัยโลก ผ่านทาง สสส
ปี 2551 เครือข่ายได้รับการติดต่อผ่านทางกระทรวงสาธารณสุขว่าทางรัฐบาลสิงคโปร์ต้องการจะเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการ Sweet Enough Campaign ของเครือข่าย .
ประวัติโลโก้ของเครือข่ายฯ
ตอนเริ่มแรก เครือข่ายฯ ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปหน้าเด็กสองคน พร้อมกับข้อความที่ปฏิเสธน้ำตาล ซึ่งสื่อถึงการคุ้มครองเด็กจากการสร้างนิสัยชอบกินหวาน
ปี 2547 เครือข่ายฯ เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูง่ายๆ และเป็นมิตรด้วยการเริ่มจากการเปลี่ยนโลโก้ โลโก้ใหม่ของเครือข่ายประกอบด้วยวงเล็บ (นขลิขิต) สีแดงสองอันที่หันหลังชนกัน โดยมีเครื่องหมายคำถาม (ปรัศนี) สีน้ำเงินอยู่ตรงกลาง ซึ่งสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายว่า "สงสัยไหมว่า กินอะไรแล้วหุ่นดี"
เด็กไทยไม่กินหวาน เป็นเครือข่ายองค์กรและบุคคลหลายกลุ่ม ที่เน้นรณรงค์ให้เด็กๆ ลดการกินหวานลง และให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เครือข่ายฯ เกิดจากการรวมกุล่มของ ทันตแพทย์ กุมารแพทย์ นักโภชนาการและนักวิชาการอิสระหลายสาขา เริ่มต้นช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) เครือข่ายนำความรู้เรื่องโรคภัยจากการกินหวานล้นเกินเสนอสู่สังคม เพราะมีข้อมูลผลสำรวจชัดเจนว่า เด็กไทยจำนวนมากในปัจจุบัน ได้รับน้ำตาลจากการกินขนม นมหวาน นมเปรี้ยวและน้ำอัดลม มากเกินกว่าที่ควร ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้นทุกวัน ซึ่งจะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมาก
เด็กไทยไม่กินหวานพยายามสร้างค่านิยมในการกินแบบใหม่ในหมู่เด็กรุ่นใหม่ ให้ใส่ใจสุขภาพโดยการลดนิสัยการกินหวานๆ ลง การทำงานของเครือข่ายใช้แนวคิดด้านการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อทำให้เด็กๆ เปลี่ยนค่านิยมในการกินได้
ประวัติการรณรงค์
โครงการเด็กไทยไม่กินหวานทำงาน "ขาย" วิสัยทัศน์ "อ่อนหวาน" เพื่อให้สังคมได้เห็นว่าการลดการบริโภคน้ำตาลนั้นทำให้เป็นคนมีคุณภาพ และเป็นที่ปรารถนา ใช้เพลง "เลยต้องอ่อนหวาน" ที่แต่งและร้องโดย เอิ้น (พิยะดา หาชัยภูมิ) เป็นสาระในความบันเทิงซึ่งสอนใจเด็กๆ และผู้ใหญ่ได้ตระหนักและรับรู้ถึงภาระทางสุขภาพจากการกินหวาน และภาวะดีๆ อันเกิดจากการไม่กินหวาน และใช้การแถลงข่าวเพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตื่นตัวเรื่องการกินหวาน
นอกจากนี้มีการสร้างตัวการ์ตูนเพื่อสื่อให้เด็กเข้าใจถึงโทษจากการบริโภคหวานที่มากเกิน น้อยหน่อย มดสีชมพูอ่อนหวาน จึงเป็นตัวแทนเครือข่ายซึ่งพยายามสื่อสารกับเด็กๆ ให้รู้เท่าทันเล่ห์กล และไม่หลงกลกับเหล่าโฆษณา ของแถม รวมทั้งกิเลสของเด็กๆ เอง
ประวัติความเคลื่อนไหวเชิงนโยบาย
ปี 2547 เครือข่ายฯ เสนอให้มีการควบคุมมิให้มีการเติมน้ำตาลลงในนมสูตรสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 3 ปี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำเป็นประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 286 ซึ่งจะทำให้เด็กได้ลิ้มรสหวานคำแรกช้าลง ซึ่งเครือข่ายก็ได้รับจดหมายแสดงความยินดีจาก องค์การอนามัยโลก ผ่านทาง สสส
ปี 2551 เครือข่ายได้รับการติดต่อผ่านทางกระทรวงสาธารณสุขว่าทางรัฐบาลสิงคโปร์ต้องการจะเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการ Sweet Enough Campaign ของเครือข่าย .
ประวัติโลโก้ของเครือข่ายฯ
ตอนเริ่มแรก เครือข่ายฯ ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปหน้าเด็กสองคน พร้อมกับข้อความที่ปฏิเสธน้ำตาล ซึ่งสื่อถึงการคุ้มครองเด็กจากการสร้างนิสัยชอบกินหวาน
ปี 2547 เครือข่ายฯ เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูง่ายๆ และเป็นมิตรด้วยการเริ่มจากการเปลี่ยนโลโก้ โลโก้ใหม่ของเครือข่ายประกอบด้วยวงเล็บ (นขลิขิต) สีแดงสองอันที่หันหลังชนกัน โดยมีเครื่องหมายคำถาม (ปรัศนี) สีน้ำเงินอยู่ตรงกลาง ซึ่งสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายว่า "สงสัยไหมว่า กินอะไรแล้วหุ่นดี"