วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟักข้าว หรือ ขี้พร้าไฟ


ฟักข้าว เป็นไม้เลื้อยตามต้นไม้หรือตามรั้วบ้าน โดยมีชื่อเรียกกันต่างไป เช่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochinchin Gourd

ถิ่นกำเนิด
ฟักข้าว Momordica cochinnensis (Lour.) Spreng.
อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์ Cucurbitaceae
ชื่อเรียกอื่นคือ ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochinchin Gourd
ฟักขาว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียตนาม มาเลเซีย บังกลาเทศ และ ฟิลิปปินส์เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้าน

ลักษณะพีช
ลำต้น

ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก

ดอก

ดอกลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึง ลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกแป็นดอกดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า

ผล

ผลของฟักข้าวมี 2 ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว 6-10 เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว 4-6 เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ 0.5-2 กิโลกรัม ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหารแต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดู หนาว ชาวเวียดนามจึงใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น
ฟักข้าว 1 ผลจะได้เยื่อสีแดงราว 200 กรัม
ผลของฟักข้าวจะมีรูปร่างกลมรี มีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง

ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้มภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา

การขยายพันธ์สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เนืองจากเป็นไม้เถาที่ค่อนข้างต้องการน้ำมาก ฟักข้าวจะเริ่มมีดอกหลังจากปลูกไปได้แล้วประมาณ 2-3เดือน ดอกจะเริ่มออกในราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจนถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาโดยประมาณ 20 วัน เก็บเกี่ยวผลได้ในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และใน 1 ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวสามารถได้ผลมากถึง 30-60 ผล


คุณค่าทางโภชนาการ
ในประเทศไทยคนสมัยก่อนนำผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร เนื่องจากรสชาติเนื้อฟักข้าว เหมือนมะละกอ วิธีการนำมารับประทานโดยการนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่แกง ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ โดยการนึ่งหรือลวกให้สุก เช่นเดียวกับผลอ่อนนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค หรือจิ้มน้ำพริกได้เช่นเดียวกัน

ฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรค
-ประเทศจีน
ใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า 1,200 ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ

การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง

ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการ และใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร

งานวิจัยในประเทศจีนพบว่าโปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระจึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง

นอกจากนี้ เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ

-ประเทศเวียดนาม
การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลับฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

-ประเทศไทย
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลับมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี – เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว

งานวิจัยอื่นของไทยและตางประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลซิน – เอส และโคลซินิน – บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใชพัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า

-ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย
ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหา ใช้รากบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก
ประเพณีล้านนาของไทยใช้ฟักข้าวในการดำหัว (คือการสระผม) สตรีล้านนา ดำหัวสัปดาห์ละครั้ง “ยาสระผม” ผลประคำดีควายหมกไฟพอให้สุกรากของต้นฟักข้าว รากแหย่งบดหยาบทั้งหมดผสมกับน้ำอุ่นหมักผมไว้สักระยะหนึ่งแล้วจึงล้างออก จะทำให้แก้คันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วงและช่วยให้ผมดกดำ

-ประเทศญี่ปุ่น
ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็งและชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย

ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า ลองหาพันธุ์มาปลูกไม้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อในปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกันโรคร้ายได้อย่างดี



วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พะยูน (Dugong)

พะยูน (Dugong) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและหายใจด้วยปอดที่อาศัยอยู่ในทะเลจากหลักฐานต่างๆ เช่น การพบซากโบราณ(Fossil)และจากโครงร่างบางส่วนเช่น กระดูกครีบหน้าหรือขาคู่หน้าของพะยูนมีลักษณะคล้ายกระดูกนิ้วในสัตว์บก และส่วนที่หลงเหลือของกระดูกเชิงกรานจึงเชื่อว่าพะยูนมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กินพืช ที่อาศัยอยู่บนบก พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1776โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู้ดโฮบ ถึงฟิลลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและปลาวาฬ

เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับ (Order) เดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รู จมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือนๆกันอย่างวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต (สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539

พะยูนมีบรรพบุรุษเดียวกับช้าง?
ในปี ค.ศ. 1816 De Blainville ได้เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและปลาวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ (ungulates) ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนชื่อ Eotheroides ในประเทศอียิปต์

พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (Upper Eocene)หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน (อนุวัฒน์ นทีวัฒนาและปิติวงศ์ ตันติโชดก, 2523)

พะยูนอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง?

พะยูนมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก พบบริเวณมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกาไปจนถึงทะเลแดง รอบๆเกาะมาดากัสการ์และอีกหลายเกาะในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้เช่น นิวกินี บริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลและบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเคยมีรายงานว่าพบพะยูนที่ หมู่เกาะริวกิว รวมถึงชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนซึ่งปรากฏว่าพะยูนเคยเข้าไปอาศัยตามแม่น้ำสายต่างๆที่ติตต่อกับทะเลเปิด (Nowakand Paradiso, 1983; Jefferson et al., 1993)
เฉพาะประเทศไทยเคยมี พะยูนมาอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันมีพะยูนเหลือแต่ทางด้านทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ มีแหล่งที่อยู่ที่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเลอุทยานแห่งชาติเจ้าไหมและเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ามีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 10 ตัว (ทวีศักดิ์ ปิยกาญจน์, 2535 อ้างถึงใน สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539)

ความแตกต่างระหว่างพะยูนกับมานาที

ลักษณะที่แตกต่างระหว่างพะยูนและมานาทีอยู่ที่หาง พะยูนจะมีหางเป็น 2 แฉก คล้ายกับหางของพวก Cetaceans เช่น ปลาวาฬและโลมา คือตรงกลางมีลักษณะเป็นร่องหรือรอยบากและโคนหางจะแบนจากบนลงล่าง ส่วนหางของมานาทีมีลักษณะกลมไม่มีรอยบากตรงกลางและโคนหางจะไม่แบนจากบนลงล่าง ส่วนรูจมูกพะยูนจะมีรูจมูกอยู่บนส่วนยอดของริมฝีปากบนที่มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อใหญ่และหนาหรือ Snout และเพศผู้มีงายื่นออกมาสามารถเห็นได้ชัด แต่ในพวกมานาทีรูจมูกจะอยู่ตรงส่วนหน้าของ Snout และในตัวเต็มวัยก็จะไม่มีงา ซึ่งมีเฉพาะพะยูนเท่านั้น

Steller's sea cow ซึ่งเป็นวัวทะเลที่สูญพันธ์ไปแล้วก็ไม่มีงา นอกจากนั้นพะยูนยังมีรูปร่างเพรียวมากกว่ามานาทีและจะไม่มีเล็บที่ขาคู่หน้าเหมือนกับมานาทีบางชนิด (Jefferson et al., 1993) และที่สำคัญมานาทีไม่สามารถพบในประเทศไทยได้จะพบได้ในทวีปอเมริกา และแอฟริกา

พฤติกรรมของพะยูน


พะยูนจะมีการรวมเป็นฝูงและอยู่เป็นโดดเดี่ยวทั้งเมื่อน้ำขึ้นและน้ำลง มีการรวมเป็นฝูง ฝูงละ 2-3 ตัว และอาจจะพบพะยูนเป็นฝูงใหญ่ และมีลูกพะยูนอยู่ด้วย ซึ่งในปัจจุบันจะพบพะยูนมากที่สุด คือ ประเทศออสเตรเลีย

เรื่องของอาหารจากการสำรวจแหล่งหญ้าทะเลและได้สังเกตพฤติกรรมของพะยูน ที่เกาะตะลิบง จ.ตรัง พบว่าพะยูนจะเริ่มเข้ามาหากินหญ้าทะเลในช่วงที่น้ำทะเลกำลังขึ้น และกินหญ้าทะเลอยู่นานราว 2-3 ชั่วโมง พะยูนจะกินหญ้าทะเลพร้อมทั้งขึ้นมาหายใจทุกๆ 1-2 นาที และจึงดำลงไปกินหญ้าทะเลต่อ บางตัวจะกินหญ้าทะเลต่อในบริเวณใกล้ๆ ที่เดิม ในขณะที่บางตัวจะว่ายน้ำเปลี่ยนที่ไปประมาณ 1-5 เมตร โดยที่ลักษณะทิศทางการกินหญ้าทะเลของพะยูนไม่แน่นอน มีทั้งการหันด้านหัวสู่ชายฝั่ง หันหัวออกทะเล ลำตัวขนานกับชายฝั่ง หรือลำตัวทำมุมเฉียงกับชายหาด ซึ่งพะยูนส่วนใหญ่ที่พบจะกินหญ้าทะเลอยู่ห่างจากชายฝั่งมากกว่า 1 กิโลเมตร ในขณะที่น้ำลงมากพะยูนจะไปอาศัยอยู่ในร่องน้ำห่างชายฝั่งประมาณ 4-5 กิโลเมตร(สังเกตพบเห็นพะยูนอยู่ในร่องน้ำหลังน้ำลงประมาณ 2 ชั่วโมง) ซึ่งสอดคล้องกับกับงานของสุวรรณและคณะ(2536)

โดยพะยูนอาจจะกินหญ้าทะเลในช่วงน้ำขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน โดยที่พะยูนที่เกาะปาเลาส่วนใหญ่จะเข้ามากินหญ้าทะเลในตอนกลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตรายจากคนและสิ่งแวดล้อมอย่างอื่น สำหรับตอนเหนือของรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลียพบว่าพะยูนจะเข้ามากินหญ้าทะเลในตอนกลางวัน ซึ่งจะกินหญ้าทะเลวันละประมาณ 30 กิโลกรัม แต่บางตำราระบุว่า กินอาหารประมาณวันละ 8 กิโลกรัม โดยใช้ปากเล็มหรืองับทั้งต้นพืชแล้วส่ายล้างสิ่งเกาะติดอื่นๆ แล้วกลืนทันทีโดยไม่เคี้ยว พะยูนอาจจะอาศัยประจำถิ่น หรือเคลื่อนย้ายถิ่นตามฤดูกาล (กาญจนา อดุลยานุโกศล และคณะ, 2540)

พะยูนระหว่างแม่กับลูกนั้นมีความสัมพันธ์กันมาก จะพบว่าแม่และลูกพะยูนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก ทั้งในขณะหากินและในขณะที่ว่ายน้ำ ลูกพะยูนและแม่จะว่ายน้ำหากินอยู่ใกล้ๆ กัน บางครั้งอาจจะห่างกันแต่จะอยู่ในรัศมีประมาณ 1 เมตร ขณะที่ขึ้นมาหายใจพร้อมกันลูกพะยูนจะอยู่ชิดช้างลำตัวแม่ หรืออยู่บนหลังของแม่ และขณะที่กำลังว่ายน้ำออกจากแหล่งหญ้าทะเลก็จะว่ายอยู่เคียงกันตลอด จากการติดตามสังเกตพฤติกรรมการกินหญ้าทะเลของแม่และลูกพะยูน พบว่าลูกพะยูนจะโผล่ขึ้นมาหายใจบ่อยกว่าแม่พะยูน โดยในขณะที่แม่พะยูนกำลังกินหญ้าทะเลอยู่ ลูกพะยูนโผล่ขึ้นมาหายใจ 2-3 ครั้ง แล้วแม่พะยูนจึงโผล่ขึ้นมาหายใจครั้งหนึ่ง

การสืบพันธุ์ของพะยูน
พะยูนไม่ได้ผสมพันธุ์ตามฤดูกาล จะมีการตั้งท้องนาน 13-15เดือน(บางตำราระบุว่าใช้เวลาประมาณ 385-400 วัน) จะมีการออกลูกครั้งละ 1 ตัว (บางตำราระบุว่ามีการออกลูกได้ถึงครั้งละ 2 ตัวได้ แต่มีน้อยมาก) มีลูกหนักเฉลี่ยประมาณ 20 กิโลกรัม(วารสารการประมง น้ำหนักแรกประมาณ 20-35 กิโลกรัม)โดยที่พะยูนเกิดใหม่จะมีน้ำหนักไม่เกิน 100 กิโลกรัม โดยตัวแม่จะมีการดันลูกให้ขึ้นสู่ผิวน้ำทันที แล้วชะลอลูกไว้บนหลังในช่วงแรกๆ หลังคลอดเพื่อหัดให้ลูกหายใจและวายน้ำ โดยจะค่อยๆจมตัวเองและลอยขึ้นเป็นจังหวะ

โดยลูกจะดูดนมแม่ใต้น้ำตัวผู้จะไม่ช่วยในการเลี้ยงลูก โดยลูกจะหย่านมแม่หลังจากอายุ 1 ปีไปแล้ว มีความยาวแรกเกิดประมาณ 1.0-1.2 เมตร และพะยูนอายุ 1 ปี จะมีความยาวประมาณ 1.8เมตร(จากการศึกษาพะยูนที่ประเทศออสเตรเลีย) เมื่อมีศัตรูลูกอ่อนจะว่ายน้ำหลบอยู่บนหลังของแม่ ช่วงอายุในการสืบพันธุ์ยังไม่แน่ชัด(บางตำราระบุว่ากว่าจะแพร่ขยายพันธุ์ได้จะต้องอายุประมาณ 9 ปีขึ้นไป) และจากการสำรวจคาดว่าฤดูกาลการคลอดลูกของพะยูนอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม สำหรับการศึกษาถึงฤดูกาลคลอดลูกของพะยูน ในประเทศออสเตรเลียพบว่าจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคมและกว่าแม่พะยูนจะมีลูกได้อีกจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี จะมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 45-70 ปี(กรณีที่อายุยืนยาวตามธรรมชาติ)

แหล่งที่อยู่อาศัยและลักษณะนิสัยของพะยูน

พะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลนอกเขตน้ำกร่อย และชอบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก หรือไม่เกิน 10 เมตร(โดยเฉลี่ยแล้วจะพบในความลึกประมาณ 3-5 เมตร) บริเวณที่ไม่ห่างไกลจากแหล่งหญ้าทะเลและเป็นที่ที่คลื่นลมไม่จัด บางครั้งอาจพบว่าเข้าไปในคลองน้ำกร่อยในป่าชายเลน

โดยปกติจะมีการอาศัยอยู่ใต้น้ำ จะโผล่ขึ้นมาหายใจเอาอากาศบนผิวน้ำทุกๆ 3-5 นาที(หนังสือบางเล่มบอกว่าจะโผล่ทุกๆ 6-16 นาที) จะมีการจมตัวอยู่ในน้ำตลอดเวลา ปกติจะมีการทรงตัวอยู่ในแนวราบขนานกับพื้นท้องน้ำ เคลื่อนไหวอย่างช้า มีนิสัยรักสงบไม่ว่าจะอยู่เป็นฝูงหรืออยู่เพียงลำพัง แต่ส่วนมากแล้วจะอยู่เป็นฝูง สามารถอยู่ร่วมกับปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ได้ แต่ถ้ามีคนหรือสิ่งที่รบกวนอย่างอื่นเข้าใกล้จะมีการพุ่งตัวหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว พยูนจะโผล่ขึ้นมาหายใจเอาอากาศบนผิวน้ำทุกๆ 3-5 นาที

สถานภาพของพะยูนทั่วโลก

ถึงแม้ว่าพะยูนจะเป็นสัตว์คุ้มครองในประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ยังคงมีการอนุญาตให้ล่าได้ตามประเพณีความเชื่อเก่าของชาวอะบอริจิน และชาวเกาะบริเวณช่องแคบTorres พะยูนมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งนับวันจะถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ จากการขุดลอกร่องน้ำ การชะล้างหน้าดินจากบริเวณพื้นที่ทำเกษตรกรรมลงสู่ทะเล และมักจะได้รับอันตรายจากจากอวนขนาดใหญ่ เช่น อวนกระเบน หรืออวนฉลาม ซึ่งสภาพปัญหาของพะยูนจะคล้ายกับโลมา ยกตัวอย่างเช่น บริเวณ Great Barrior Reef (GBR) มีประชากรของพะยูนประมาณ 3,500 ตัว (ในปี1987) และอีก 4 ปีต่อมา (ในปี1991) ประชากรพะยูนลดลงเหลือ 1,700 ตัว การลดจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มันอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จะเห็นว่ามีการปัญหาของพะยูนจะคล้ายกับโลมาคือมีจำนวนลดลงอย่างมากทั่วโลก

บริเวณที่พบประชากรพะยูนที่มากที่สุดในโลก คือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่ามีอยู่ประมาณ 70,000 ตัว โดยพบที่ ช่องแคบ Torres strait ประมาณ 12,500 ตัว และที่ GBR มีประชากรของพะยูนประมาณ 1,700 ตัว (บริเวณที่พบมากที่สุกในออสเตรเลียคือ ฝั่ง West Australia) อันดับรองลงมาเป็นบริเวณ อ่าวเปอร์เซีย ประมาณการว่าเหลืออยู่ประมาณ 5,000 - 6,000 ตัว อันดับ 3 คือบริเวณทะเลแดงพบประมาณ 4,000 ตัว นอกจากนั้นยังพบที่อื่นๆเล็กน้อย เช่นบริเวณชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันออกตั้งแต่ประเทศ Somalia ลงมาจนถึง Mozambique พบประมาณ 100 ตัว ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกาะ Vanuatu มีประชากรประมาณ 400 ตัว ที่เกาะ Palau ประมาณว่าเหลืออยู่น้อยกว่า 200 ตัว นอกจากนี้ยังพบที่หมู่เกาะ Solomons และที่อื่นๆ ในแถบอาเซียนพบน้อยมากใน Indonesia Malaysia Thailand , Myanmar Papua-New Guinea และPhilippines ****สาเหตุอาจเนื่องมาจากคนในบริเวณแถบนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับพะยูนมาก และนิยมบริโภคเนื้อพะยูน


วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัดลมไม่มีใบพัด


รายละเอียด

จากที่เราคุ้นเคยเราก็จะเคยเห็นพัดลมที่บ้านเรานั้นจะมีใบพัดที่พัดมาให้เราได้ เย็นสบายกันทุกวัน แต่เราคงจะเคยเจอกับสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิด หรืออุบัติเหตุที่เราคุ้นเคยกันสมัยก่อน นั้นก็คือใบพัดบาดนิ้ว ซึ่งสมัยก่อนนั้นเราจริงจังและเป็นห่วงกันมากสำหรับเรื่องนี้

แต่วันนี้สิ่งเหล่านั้นคงจะไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว ด้วย The Air Multiplier ที่ เป็นพัดลมที่ใช้ระบบการดูดอากาศรอบข้างนั้นมารวมไว้จุดเดียวและสร้างอากาศ สบายๆ มาใส่เราโดยที่เราไม่ต้องกังวลถึงใบพัดที่จะก่อให้เกิดอันตรายอีกต่อไป เพราะเจ้านี้ไม่มีใบพัด ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดกับฝุ่นที่เกาะใบพัดอีกด้วย

โดยหลักการการทำงานคือใช้แรงลมดันมาจากในแกนวงแหวน ปล่อยออกมาแล้วมีลมจากภายนอกช่วยเพิ่มอีกที ทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 98% ทำความสะอาดก็ง่ายไม่ต้องถอดใบพัดมาเช็ดให้ยุ่งยาก ดีไซน์รูปทรงวงกลมๆกลวงๆดูสวยและเรียบง่าย

ในการวาดอากาศ จึงช่วยให้สามารถเพิ่มความเร็วของอากาศได้ถึง 15 เท่า
ของความเร็วอากาศปกติ เทคโนโลยี Air Multiplier จะสามารถสร้างกระแส
อากาศที่ไม่ขาดสาย และเนี่องจาก The Air Multiplier เป็นพัดลม
ที่ไม่มีใบพัด หรือ ตะแกรง มันจึงทำให้ปลอดภัย และง่ายต่อการทำความสะอาด
และไม่ก่อให้เกิดการตัดอากาศ