วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Nostradamus


Michel de Nostredame (14 December or 21 December 1503– 2 July 1566), usually Latinised to Nostradamus, was a French apothecary and reputed seer who published collections of prophecies that have since become famous worldwide. He is best known for his book Les Propheties ("The Prophecies"), the first edition of which appeared in 1555. Since the publication of this book, which has rarely been out of print since his death, Nostradamus has attracted a following that, along with the popular press, credits him with predicting many major world events.

Most academic sources maintain that the associations made between world events and Nostradamus's quatrains are largely the result of misinterpretations or mistranslations (sometimes deliberate) or else are so tenuous as to render them useless as evidence of any genuine predictive power. Moreover, none of the sources listed offers any evidence that anyone has ever interpreted any of Nostradamus's quatrains specifically enough to allow a clear identification of any event in advance.



วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปลาเสือพ่นน้ำ


วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (วงศ์: Toxotidae) คำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง นักยิงธนู ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) ในอันดับ Perciformes

ลักษณะ
ปลาในวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 40 เซนติเมตร ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก

การกระจายพันธุ์
มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Toxotes 7 ชนิด พบกระจายทั่วไปในเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงรัฐควีนส์แลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีในออสเตรเลีย อาศัยทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย พบมากบริเวณปากแม่น้ำหรือแถบชายฝั่ง

พฤติกรรม
อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อภาษาอังกฤษว่า "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะปลาในวงศ์นี้มีลิ้นที่ยาว และมีร่องลึกที่ลิ้น ประกอบกับจะงอยปากที่กว้างพอดีที่จะพ่นน้ำออกมาได้ในลักษณะเดียวกับปืนฉีดน้ำ

นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 20,000-150,000 ฟอง ไข่มีขนาด 0.4 มิลลิเมตร โดยวางไข่แบบปล่อยลอยไปตามกระแสน้ำ พ่อแม่ปลาไม่ดูแลไข่

บางชนิดอาจตกเป็นเกมบ้าง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามทั้งสิ้น 7 ชนิด เป็นชนิดที่ค้นพบใหม่ 1 ชนิด พบในไทย 3 ชนิด ได้แก่ เสือพ่นน้ำ, เสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ และ เสือพ่นน้ำน้ำกร่อย

การจำแนก
ปลาเสือพ่นน้ำพม่า (Toxotes blythi) พบในประเทศพม่า มีสีสันลวดลายสวยงาม เพิ่งเข้าสู่การค้าขายเป็นปลาสวยงามได้ไม่นานมานี้
ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotes chatareus) เป็นชนิดที่พบมากที่สุด มีขนาดใหญ่ได้ถึง 40 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไป และมีจุดดำมากกว่าทุกชนิด
ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ (Toxotes microlepis) มีสีเหลืองสดกว่าทุกชนิด
ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย (Toxotes jaculatrix)
ปลาเสือพ่นน้ำโบราณ (Toxotes lorentzi) มีรูปร่างแปลกไปจากชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยมีลำตัวยาว ปากแหลม พื้นลำตัวสีคล้ำ พบในนิวกินี อินโดนีเซียและออสเตรเลีย
ปลาเสือพ่นน้ำตะวันตก (Toxotes oligolepis) พบเฉพาะในแม่น้ำฟริตซ์รอย ทางทิศตะวันตกของออสเตรเลีย ที่เดียวเท่านั้น มีเกล็ดที่มีความแตกต่าง
ชนิดที่ค้นพบใหม่ (Toxotes kimberleyensis) ได้ทำอนุกรมวิธานเมื่อปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีลวดลายคล้ายปลาเสือพ่นน้ำพม่า พบในแคว้นคิมเบอร์ลี่ย์ ออสเตรเลียตะวันตก

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ที่น่าสนใจ!!!

หอเอนเมืองปีซา (The Leaning Tower of Pisa)



หอเอนเมืองปีซา ตั้งอยู่ที่เมืองปีซา ประเทศอิตาลี เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสูง 181 ฟุต เริ่มสร้างเมื่อค.ศ. 1174 แต่การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงเมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 4-5 ชั้น เนื่องจากพื้นดินใต้อาคารเริ่มยุบลงจากการที่รากฐานของอาคารไม่มั่นคงพอ อย่างไรก็ตามต่อมาได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยเมื่อ ปีค.ศ. 1350 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของโครงสร้างด้านบนไปจากแผนผังเดิมเพื่อถ่วง ดุลกับการเอียงของหอ โดยรวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 176 ปี แต่ตัวหอก็ยังเอนไปจากแนวตั้งฉากถึง 14 ฟุตปัจจุบันนี้ได้ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมข้างบนแล้ว เนื่องจากว่าหอจะเอนลงเรื่อยๆ ซึ่งบรรดาวิศวกรกำลังหาทางที่จะหยุดยั้งการเอนและอนุรักษ์ให้มีสภาพเอียง ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมไปอีกนานๆ สำหรับหอเอนปิซานี้ภายในมีเสาหินอ่อนที่สลักลวดลายด้วยฝีมือจิตรกรชื่อ ดังแห่งยุคได้สลักลวดลายไว้สวยงามมาก ณ ที่หอเอนปิซาแห่งนี้เป็นที่ที่กาลิเลโอขึ้นไปทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับแรงดึงดูดของโลก


สนามกีฬาแห่งกรุงโรม (The colosseum of Rome)


สนามกีฬาแห่งกรุงโรม เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส (Titus) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือ ประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน ใต้อัฒจรรย์มีห้องใต้ดินที่สร้างขึ้นเพื่อขังสิงโตและนักโทษประหาร ก่อนปล่อยให้ออกมาต่อสู้กันกลางสนาม นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประลองฝีมือของเหล่าอัศวินในยุคนั้น ปัจจุบันยังคงเหลือโครงสร้างเกือบสมบูรณ์ตั้งเด่นเป็นโบราณสถานที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก


สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย(The Catacombs of Alexandria)

 
สุสาน แห่งอเล็กซานเดรีย มีชื่อเรียกว่า คาตาโกมบ์ ตั้งอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ เป็นสุสานฝังศพใต้ดินของกษัตริย์อียิปต์โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง เป็นสุสานของใคร และสร้างเมื่อใด ลักษณะของสุสานไม่เหมือนกับปีรามิดคือจัดสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดินขุดลึก เข้าไปในภูเขาหินทราย ทำเป็นชั้นๆ และมีช่องทางเดินกว้างประมาณ 3-4 ฟุตวกเวียนไปมาเป็นระยะทางหลายไมล์ภายในอุโมงค์บางตอนตกแต่งอย่างสวยงาม ที่บรรจุดพระศพคือผนังอุโมงค์ที่เจาะเป็นช่องลึกเข้าไป มีแท่นบูชาวางด้วยตะเกียงดวงเล็กๆแขวนไหว้ด้านหน้า ปัจจุบันสุสานแห่งอเล็กซานเดรียได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงสภาพ สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง


กำแพงเมืองจีน (The Great Wall of China)



กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 332 - 339 โดยจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นกำแพงอิฐที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งยาวประมาณ 2400 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการรุกรานจากชาวตาตาร์ กำแพงสร้างด้วยดิน หิน และก่ออิฐโดยรอบ มีการสร้างป้อมปราการประมาณ 15,000 แห่ง มีฐานกว้างประมาณ 20 ฟุต ทางเดินกว้างประมาณ 12 ฟุต สูงประมาณ 25 ฟุต มีระฆังบอกเหตุประมาณ 20,000 หอ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 10 ปี โดยแรงงานของประชาชนนับล้านคนและมีผู้เสียชีวิตในระหว่างการสร้างประมาณหมื่นคน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งทำให้กำแพงเมืองจีนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสภาพสมบูรณ์สวยงาม


สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)


กองหินประหลาด ประกอบด้วยกองหินขนาดใหญ่จำนวนถึง 112 ก้อน และแต่ละก้อนทรงสูง บางก้อนล้มนอน บางก้อนตั้งตรง บางก้อนวางทับซ้อนิยู่บนยอด วงหินรอบนอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ฟุต หินที่เรียงรายอยู่ทั้งหมดถึง 30 ก้อน ล้วนแต่ก้อนขนาดมหึมา สูงถึง 13 ฟุต และหนักเป็นตันๆ ทั้งนั้น อายุของหินเล่านี้มีมานาน ตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาลถึง 1,700 ปี ไม่มีประวัติแจ้งไว้ว่าใครเป็นผู้นำมาวาง และมาวางเพื่อประสงค์อะไร กองหินประหลาดแห่งนี้ อยู่กลางทุ่งนาอันกว้างขวาง แห่งเมืองซัสลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ประเทศอังกฤษ ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 10 ไมล์ ตามทางสันนิฐานของนัวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ว่า กองหินประหลาดแห่งนี้ เป็นแหล่งกำเนิดของการโคจรของพระอาทิตย์ และพระจันทร์ได้ด้วย รัฐบาลอังกฤษ ได้เปิดสถานที่ที่มีกองหินประหลาดนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในปี ค.ศ. 1918 และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังมีผู้ไปเที่ยวชมจำนวนมาก และก็จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคกลาง

ตำนานวันคริสต์มาส

คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร


ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม

องค์ประกอบในงานคริสต์มาส
ซานตาครอส





เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี



นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา



ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง





ถุงเท้า







จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง





ต้นคริสต์มาส















นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูกแอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก





โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย





ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส





ต้นฮอลลี่



ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึงหยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มีหนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะของพระเยซูคริสต์





ดอกไม้คริสต์มาส หรือ Poinsettia







ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยมใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส





ดอกคริสต์มาส Christmas Rose



มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง





เพลงวันคริสต์มาส



เพลงคริสต์มาสเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 แต่งโดยพระสงฆ์และฆราวาส มีเนื้อร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่





เพลงคริสตมาสแบบใหม่นี้ เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน เพราะมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดีในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาสที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night





ความเป็นมาของเพลงนี้มาจากวันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้องไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปให้เพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนองในคืนวันที่ 24 นั่นเอง และเล่นเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก







คำอวยพรวันคริสต์มาส



ในวันคริสต์มาสเรามักจะใช้คำอวยพรให้แก่กันและกันว่า Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า "สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ และได้จัดให้มีการฉลองเพื่อระลึกถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศ ประเพณีนี้ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษที่ 4 และค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป





สีประจำวันคริสต์มาส



สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย



สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี



สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง



สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส



สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว





การทำมิสซาเที่ยงคืน



การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส





เทียนและพวงมาลัย



พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียวจะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้





ระฆังวันคริสต์มาส



เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข





ดาว







ดาว ในความหมายของชาวคริสต์เตียน หมายถึงการแสดงออกที่ดีของพระเยซูคริสต์ ที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า "The bright and morning star" มีความหมายพิเศษเหมือนกับว่า ดวงดาวเหล่านั้นได้แบ่งที่อยู่กับสรวงสวรรค์ ไม่ว่าจะมีกำแพงอะไรขวางกั้นระหว่างพื้นผิวโลกด้วยก็ตาม





เครื่องประดับและแอปเปิ้ล



ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้ายแสงเทียนและแสงไฟ





ของขวัญวันคริสต์มาส



การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ



ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สงครามครูเสด

          สงครามครูเสด (อังกฤษ: The Crusades; อาหรับ: الحروب الصليبية ; อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ/ หรือ الحملات الصليبية /อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ‎ แปลว่า สงครามไม้กางเขน) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13

สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นของอาณาจักรโรมอยู่ก่อนแล้วที่กองทัพอิสลามจะเข้ามาที่นี้

ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมได้เข้าปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ เนื่องมาจากโซยุเตริก(น่าจะชื่อคอลีฟหะหุในภาษาอิสลาม) ผู้นำโลกอิสลามได้เข้ายึดครองดินแดนแห่งนี้ ซึ่งเป็นยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามที่เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล

ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมืองโดยเฉพาะการครอบครองเยรูซาเร็มที่เชื่อกันว่าศูนย์กลางของโลกใบนี้ ซึ่งเยรูซาเร็มเมื่อดูในแผ่นที่โลกจะอยู่ใจกลางโลกพอดี และเยรูซาเร็มนี้ได้ชื่อว่าพระเจ้าได้มอบที่นี้ไว้ให้มนุษย์ได้พบพระองค์(ถูกบันทึกในคำภีร์ทางศาสนาของยิว คริสต์ และอิสลาม) ที่พระเจ้าให้กษัตริย์โซโลมอนได้สร้างมหาวิหารเพื่อนมัสการพระเจ้าอย่างยิ่งใหญ่บนแผ่นดินที่ได้เชื่อกันว่ายาโคบหรือJacob ต้นตระกูลยิวได้นอนลงที่นี้และนิมิตนั้นคือ เห็นบันไดสวรรค์และการขึ้นลงของทูตสวรรค์

ซึ่งทุกวันนี้มหาวิหารได้ถูกทำลายไปในยุคของโรมปีค.ศ70 และต่อมาอิสลามได้สร้างสุหร่าอัลซัลซอร์บนมหาวิหารเดิมของโซโลมอนหรือของชาวยิว และข้อพิพากนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้จนกลายเป็นปัญหาภูมิภาคตะวันออกกลาง และชาวยิวทุกวันนี้ก็พยายามทุกทางที่จะสร้างมหาวิหารนี้ได้อีกครั้งเพราะตนเองไม่มีสถานที่นมัสการเพราะที่เหลือไว้คือกำแพงด้านตะวันตกของมหาวิหาร หรือที่เรียกว่ากำแพงร้องไห้ ซึ่งชาวคริสเตียนกลุ่มโปเตสแตนท์เชื่อกันว่าถ้าหากชาวยิวจะรื้อวิหารของมุสลิมอัลซัลซอล์ และสร้างมหาวิหารได้อีกครั้ง วันนั้นเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมาเป็นครั้งที่สอง และจะเป็นวันสิ้นโลกใบนี้

สงครามครูเสดแต่ละครั้ง

มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในมหาสงครามครั้งนี้และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้งในระหว่างนั้น สงครามบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในยุโรปเอง เช่น ที่สเปน และมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นตลอดศตวรรษที่ 16 จนถึงยุค Renaissance และเกิด Reformation

สงครามครูเสดครั้งที่ 1 พ.ศ. 1638-1644 (ค.ศ. 1095-1101)

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ในสภาแห่งเคลียมอนท์ประกาศให้แย่งชิงแดนศักดิสิทธิ์คืนเริ่มต้นเมื่อปี 1095 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) แห่งกรุงโรม รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ไปยังกรุงเยรูซาเลม ช่วงแรกกองทัพของปีเตอร์ นักพรต(Peter the Hermit) นำล่วงหน้ากองทัพใหญ่ไปก่อน ส่วนกองทัพหลักมีประมาณ 50,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส นำโดย โรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์มังดีโอรสของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพก็เดินทางจากแอนติออคมาถึงกำแพงเมือง และยึดฐานที่มั่นใกล้กำแพงเข้าปิดล้อมเยรูซาเลมไว้ กองกำลังมุสลิมที่ได้รับการขนานนามว่า ซาระเซ็น ได้ต่อสู้ด้วยความเข้มแข็ง ทว่าท้ายที่สุดนักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไป และฆ่าล้างทุกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์กระทั่งชาวมุสลิมในเมืองหรือชาวยิวในสถานที่ทางศาสนาก็ล้วนถูกฆ่าจนหมด เหลือเพียงผู้ปกครองเดิมในขณะนั้นซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปได้ แต่ทว่าข่าวการรบนั้นไม่อาจไปถึงพระสันตะปาปา เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันถัดมา

ผู้นำเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับเลือกคือ ก็อดฟรีย์ แห่ง บูวียอง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานหนึ่งปีจึงเสียชีวิต เดือนกรกฎาคมปี 1100 บอลด์วินจากเอเดสซาจึงขึ้นสืบเป็นกษัตริย์ พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงอาร์เมเนีย แต่ไร้รัชทายาท พระองค์สวรรคตในปี 1118 ผู้เป็นราชนัดดานามบอลด์วินจึงครองราชย์เป็นกษัตริย์บอลด์วินที่ 2 แห่งอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ มีราชธิดา 3 พระองค์ และที่น่าสนใจคือครั้งนี้บัลลังก์สืบทอดทางธิดาองค์โตหรือมเหสี และพระสวามีจะครองราชย์แทนกษัตริย์องค์ก่อน

สงครามครูเสดมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาแต่ละศาสนา จนทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งผู้เริ่มต้นคือชาวมุสลิมต้องการครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเลม นอกจากนั้นเหตุผลทางการเมืองก็เป็นอีกสาเหตุของสงครามด้วย เพราะในสมัยนั้นเศรษฐกิจในยุโรบตกต่ำ บิช๊อปผู้นำศาสนาในโรมันคาทอลิกเรืองอำนาจมาก และมีอำนาจเหนือกษัตริย์ และครอบครองทรัพย์สินมหาศาล ขนาดมีความเชื่อในตอนนั้นว่า ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ทุกคนอยากให้บุตรชายของตนเป็นนักบวชเพื่อจะเป็นบิช๊อบ หรือโบ๊ป ผู้นำศาสนา

สงครามครูเสดได้คร่าชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาล เพราะบิช๊อบอ้างว่าเขาสามารถล้างบาปให้กับนักรบครูเสดได้ และอนุญาตให้ปล้น ฆ่า ยึดทรัพย์พวกนอกศาสนาได้ ซึ่งหลัการนี้ไม่มีในพระคำภีร์ไบเบิ้ล อีกทั้งขุนนางในสมัยนั้นต้องการยึดทรัพย์สินของพวกยิวที่ร่ำรวย และต้องการมีอิทธิพลในยุโรบไปจนถึงตะวันออกกลางจึงใช้ข้ออ้างของศาสนามาอ้างในการทำสงครามครั้งนี้

ผลของสงครามครูเสดนี้ฆ่าคนไปจำนวนมากมายนับจากยิวในยุโรบไปจนถึงยิวในเยรูซาเร็ม และทำให้ชาวมุสลิมและคริสเตียนบาดหมางกันทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองศาสนา แม้ทั้งสองจะมีความต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในดินแดนแถบนั้น และสงครามครูเสดทำให้ความขัดแย้งเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ผลของสงครามครูเสดนั้น ทำให้ยุโรปเกิดความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้เกิดการติดต่อระหว่าง โลกตะวันตกและตะวันออก ในรูปแบบการทำการค้า ซึ่งเรียกว่า ยุคปฏิรูปการค้า และ ทำให้เกิดยุค ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การการสร้างสถาปตยกรรมที่รวมกันของสองศาสนา ตลอดจนความรู้ การศึกษาขึ้นมาด้วย


สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (1147–1149)

ลัทธิศักดินา (Feudalism) ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชียน้อย (Asia Minor )นี้ได้ระบาดในหมู่พวกมุสลิมเช่นกัน พวกมุสลิมชนชาติต่าง ๆ ในตะวันออกกลางต่างก็แก่งแย่งถืออำนาจกัน แตกออกเป็นหลายนคร

อิมาดุดดีน ซังกี (Imaduddin Zangi) ผู้เป็นบุตรคนหนึ่งของ อัก สุนกูร อัลฮาญิบ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองฮะลับ หรืองอเลปโป (ภาษาละติน: Aleppo) ภายใต้อาณาจักรของ มะลิกซาห์ ใน ค.ศ. 1127 ได้เป็นอะตาเบก (เจ้านคร) แห่งโมสุล และต่อมา 1128 ก็ได้รวบรวมอเลปโปเข้าอยู่ใต้อำนาจของตน โดยเข้าข้างกษัตริย์แห่งสัลญูก ซึ่งกำลังแย่งชิงเขตแดนต่าง ๆ ของอาณาจักรอับบาสียะหฺ ในปี ค.ศ. 1135 เขาพยายามตีนครดามัสคัส เมื่อรวบรวมให้อยู่ใต้อำนาจ แต่ก็ไม่สำเร็จ ระหว่างทางที่ถอยทัพกลับไปอเลปโป ก็ได้เข้าตีนครฮิมสฺ เพื่อยึดมาเป็นของตน แต่ตีไม่สำเร็จ สองปีต่อมา ซังกีย้อนกลับมาตีนครฮิมสฺอีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จอีกเช่นกัน ทางนครดามัสคัสเมื่อกลัวว่าซังกีจะยกทัพมาประชิตเมืองอีกครั้ง ก็ได้ผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเยรูซาเลมของพวกครูเสด

ซังกียกทัพไปตีพวกครูเสด จนเกิดปะทะกันที่บารีน ฟูล์ก เจ้าราชอาณาจักรเยรูซาเลมพ่ายแพ้ พากองทัพที่รอดตายหนีออกจากนครเยรูซาเลม ซังกีได้ผูกสัมพันธไมตรีกับนครดามัสคัส เมื่อเห็นว่าตนไม่มีความสามารถที่จะเอาชนะได้ ประกอบกับได้ข่าวว่า จักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) ได้ยึดเอานครอันติออก ที่พวกครูเสดปกครองอยู่นั้น เข้ามาอยู่ในอาณาจักรไบแซนไทน์ และได้ส่งกองทัพมาประชิตเมืองอเลปโปของตน

พวกครูเสดที่ส่งมาโดยจักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) พวกนี้ยึดเมืองบุซาอะ (Buzaa) ได้ฆ่าพวกผู้ชายทั้งหมดแล้วกวาดต้อนผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส

แม้ซังกีจะวางแผนการเพื่อยึดนครดามัสคัสอีกในเวลาต่อมา ถึงขั้นกับสมรสกับนางซุมุรรุด มารดาเจ้านคร ด้วยการยกเมืองฮิมสฺเป็นสินสอด และต่อมาเจ้านครก็ถูกลอบสังหาร ซังกีก็ไม่อาจจะยึดเอานครดามัสคัสเป็นของตนได้ เวลาต่อมา นครดามัสคัสก็กลับไปรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพวกครูเสดอีกครั้ง และได้ร่วมกันโจมตีกองทัพของซังกีที่บานิยาส

ซังกีได้ยกทัพเข้าตีนครเอเดสสาที่อยู่ภายใต้พวกครูเสดแตกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1114 จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดครั้งที่ 2

ซังงีถูกทาสรับใช้ของตน ซึ่งเป็นชาวแฟรงก์ ลอบสังหารเมื่อวันที่ 5 เราะบีอุษษานีย์ 541 ตรงกับวันที่ 14 กันยายน 1146 ซังงีมีบุตร 4 คน ล้วนเป็นคนมีความสามารถทั้งสิ้น ในระหว่างความยุ่งยากนี้พวกคริสต์ในเมืองเอเดสสา คิดกบฏฆ่าทหารมุสลิมที่รักษาเมืองและได้รับความช่วยเหลือจากพวกแฟรงก์ ภายใต้การนำของโยสเซลิน (Joscellin) ยึดเมืองเอเดสสาได้ แต่บุตรสองคนของซังงี ชื่อ นูรุดดีน มะฮฺมูด (ฝรั่งเรียก Noradius) ตีเมืองเอเดสสากลับคืนมาได้ พวกที่ก่อกบฏและทหารแฟรงก์ถูกฆ่า พวกอาร์มิเนียนที่เป็นต้นคิดกบฏถูกเนรเทศ และนูรุดดีนสั่งให้รื้อกำแพงเมือง ผู้คนต่างหนีออกจากเมืองจนเมืองเอเดสสากลายเป็นเมืองร้าง

การสูญเสียเมืองเอเดสสาเป็นครั้งที่ 2 นี้ ได้ก่อให้เกิดการโฆษณาขนานใหญ่ในยุโรป นักบุญเซ็นต์เบอร์นาร์ด (Bernard Clairvaux) ซึ่งฉลาดในการพูดและได้ฉายาว่า ปีเตอร์นักพรตคนที่สอง ได้เที่ยวเทศนาปลุกใจนักรบ ให้ร่วมกันป้องกันสถานกำเนิดแห่งศาสนาคริสต์ เหตุนี้ทำให้พวกคริสเตียนตกใจกลัวยิ่งนักว่า พวกสัลญูกตุรกีจะยกทัพมาตียุโรป และตนจะไม่ได้เป็นเจ้าของศาสนสถานในปาเลสไตน์อีก การปลุกใจครั้งนี้ไม่เร้าใจแต่เพียงขุนนาง อัศวินและสามัญชน ซึ่งเป็นส่วนในสงครามครูเสดครั้งแรกเท่านั้น พวกกษัตริย์ต่าง ๆ ก็พลอยนิยมไปด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้ถือเอาสงครามครูเสดเป็นเครื่องเบี่ยงบ่ายการกระทำอันโหดร้าย ต่อพลเมืองบางพวกที่เป็นกบฏต่อพระองค์ กษัตริย์คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันเข้าร่วมทัพด้วย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1147 ข้างพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส มีพระมเหสีร่วมไปในกองทัพด้วย ชื่ออิเลนอร์ (Eleanor of Guienne มเหสีคนนี้ต่อมาไปสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ) การที่ราชินีเข้าร่วมกองทัพด้วยทำให้ผู้หญิงฝรั่งเศสอีกจำนวนมากอาสาเข้ากองทัพครูเสด ซึ่งคราวนั้นมีพลประมาณ 900,000 คน พวกฝรั่งเศสได้กระทำชู้กับหญิงในกองทัพอย่างเปิดเผย กองทัพของสองกษัตริย์ได้รับการต่อต้านและเสียหายอย่างหนัก

ส่วนหนึ่งกองทัพของกษัตริย์คอนราดถูกทำลายที่เมืองลาซิกียะหฺ (ภาษาละติน: Laodicea หรือ Latakia) ส่วนกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ที่ยกมาทางทะเลก็ถูกโจมตียับเยินโดยเฉพาะที่เมืองก็อดมูส (Babadagh ปัจจุบันในตุรกี ภาษาละติน: Cadmus) อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกครูเสดมีกำลังพลมาก จึงเหลือรอดมาถึงเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นเรย์มอง ผู้เป็นลุงของราชินีอีเลนอร์ เป็นผู้ปกครองเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออกเช่น เคาน์เตสแห่งดูลูส (Countess of blois) เคาน์เตสแห่งรูสสี (Countess of Roussi) ดัชเชสแห่งบุยยอง (Duchess of Bouillon), Sybille แห่งฟแลนเดอร์ส และสตรีของผู้สูงศักดิ์อื่น ๆ อีก แต่จอมราชินีของพวกเขา คือมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เมื่อพักผ่อนและสนุกสนานกับพวกผู้หญิงเพียงพอแล้ว พวกครูเสดก็ยกทัพเข้าล้อมเมืองดามัสคัส แต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีน และสัยฟุดดีน อัลฆอซี บุตรทั้งสองของซังกี ได้ยกทัพมาช่วย ทั้งกษัตริย์คอนราดแห่งเยอรมนีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้เลิกทัพกลับยุโรป พวกครูเสดต้องล่าทัพกลับบ้านเมืองด้วยความผิดหวังและสูญเสียอย่างหนัก

ส่วนพวกครูเสดที่มาจากพวกยุโรปเหนือ ก็ได้เคลื่อนทัพจนถึงโปรตุเกส แล้วได้ร่วมมือกับกษัตริย์อัลฟอนโซ เพื่อโจมตีนครลิสบอน และขับไล่พวกมุสลิมออกจากนครนี้ในปี 1147

กองทัพครูเสดจากเยอรมันได้เข้าไปโจมตีพวกสลาฝที่อยู่รอบอาณาเขตอาณาจักรเยอรมัน


สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (1187–1192)

ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ ได้ตีเอานครเยรูซาเลมกลับคืนมาเป็นของพวกมุสลิมอีกครั้งในปี 1187

เมื่อศอลาฮุดดีนได้ข่าวพวกแฟรงก์ยกทัพมา จึงประชุมนายทัพโดยให้ความเห็นว่าจะโจมตีพวกนี้ขณะเดินทัพอยู่ แต่พวกนายพลว่าให้ตีเมื่อมาถึงชานเมืองอักกะ (Acre) พวกครูเสดได้ตั้งทัพล้อมเมืองนี้ไว้ และปีกข้างหนึ่งจดทะเล ทำให้สามารถรับเสบียงจากยุโรปได้สะดวก ถ้าศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกนี้ขณะเดินทาง ก็คงไม่ประสบสถาณะคับขันเช่นนี้ พวกตุรกีจากเมืองใกล้ ๆ ก็ยกทัพมาช่วย และในวันที่ 1 ชะอฺบาน 585 (14 กันยายน 1189 ) ศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกครูเสด หลานชายของท่านคนหนึ่งชื่อ ตะกียุดดีน ได้แสดงความกล้าหาญมากในการรบ ตอนนี้ทหารศอลาฮุดดีนมีกำลังน้อยกว่าพวกครุเสดมาก เพราะต้องกระจายกำลังป้องกันเมืองหน้าด่านต่าง ๆ เช่นที่ยืนยันเขตแดนติดเมืองตริโปลี, เอเดสสา, อันติออก อเล็กซานเดรีย ฯลฯ ในรอบนอกเมืองอักกานั้น พวกครูเสดถูกฆ่าราว 10,000 คน ได้เกิดโรคระบาดขึ้นเพราะด้วยศพทหารเหล่านี้ เนื่องจากติดพันอยู่การสงคราม ไม่สามารถรักษาที่รบให้สะอาดได้ ศอลาฮุดดีนเองได้รับโรคระบาดนี้ด้วย แพทย์แนะนำให้ถอนทหารและได้ยกทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่ อัลคอรรูบะหฺ พวกครูเสดจึงยกทัพเข้าเมืองอักกาและเริ่มขุดคูรอบตัวเมือง

คอลาฮุดดีนได้มีหนังสือไปยังสุลฎอนของมอร็อคโคให้ยกทัพมาสมทบช่วยแต่พวกนี้ได้ปฏิเสธ ในฤดูใบไม้ผลิศอลาฮุดดีนได้ยกทัพมาโจมตีเมืองอักกาอีก พวกครูเสดได้เสริมกำลังมั่นและสร้างหอคอยหลายแห่ง แต่ทั้งหมดถูกกองทัพศอลาฮุดดีนยิงด้วยด้วยลูกไฟ เกิดไฟไหม้ทำลายหมด ตอนนี้กำลังสมทบจากอียิปต์มาถึงทางเรือและกำลังการรบจากที่อื่นมาด้วย พวกแฟรงก์เสียกำลังการรบทางแก่อียิปต์อย่างยับเยิน พวกครูเสดถูกฆ่าและเสียกำลังทัพมาก แต่ในปลายเดือนกรกฎาคม 1190 เคานต์เฮนรี่แห่งแชมเปญ ผู้มีสายสัมพันธ์กับพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพหนุนมาถึง ศอลาฮุดดีนได้ถอยทัพไปตั้งมั่นที่อัลคอรรูบะหฺอีก ได้ทิ้งกองทหารย่อย ๆ ไว้ ซึ่งได้ต่อสู้พวกครูเสดอย่างกล้าหาญ ตอนนี้พวกครูเสดไม่สามารถคืบหน้าได้ จึงจดหมายไปยังโปีปขอให้จัดทัพหนุนมาช่วย พวกคริสเตียนได้หลั่งไหลกลับมาสมทบพวกครูเสดอีกครั้ง เพราะถือว่าการรบ"พวกนอกศาสนา"ครั้งนี้ทำให้ตนถูกเว้นบาปกรรมทั้งหมดและได้ขึ้นสวรรค์ ศอลาฮุดดีนจัดทัพรับมือพวกนี้อย่างเต็มที่ ให้ลูกชายของตนชื่อ อะลีย์ อุษมาน และฆอซี อยู่กลางทัพ ส่วนปีกทางขวาให้น้องชายชื่อสัยฟุดดีนเป็นแม่ทัพ ทางซ้ายให้เจ้านครต่าง ๆ คุม แต่ในวันประจัญบานกันนั้นตัวศอลาฮุดดีนเองป่วย จึงได้เฝ้าดูการสุ้รบจากยอดเขาแห่งหนึ่ง พวกครูเสดถูกตีฟ่ายตกทะเลได้รับความเสียหายอย่างหนัก พวกนี้เริ่มขาดแคลนอาหารและโดยที่ฤดูหนาวย่างเข้ามา จึงพักการรบ

เมื่อถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ คือเดือนเมษายน 1191 พวกครูเสดได้รับทัพหนุนเพิ่มขึ้นอีก โดยพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพมา พร้อมกันนั้นพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษก็ยกทัพมาอีกด้วย มีเรือรบมา 20 ลำ เต็มไปด้วยทหารและกระสุน กำลังหนุนของศอลาฮุดดีนมาไม่พร้อม ทหารมุสลิมในเมืองอักกามีกำลังน้อยกว่าจึงขอยอมแพ้พวกครุเสด โดยแม่ทัพมุสลิมมีนคนหนึ่งชื่อ มัชตูบ ผู้คุมกำลังป้องกันอักกาได้อุทรต่อพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแต่ถูกปฏิเสธเว้นแต่ พวกมุสลิมจะยอมยกเมืองเยรูซาเลมให้ พวกมุสลิมจึงกลับสู้รบอีกจนสุดชีวิต ขณะการล้อมเมืองและการสู้รบอยู่เป็นเช่นนี้ได้เกิดโรคระบาดเกิดขึ้น ในที่สุดมีเงื่อนไขว่า พวกมุสลิมจะต้องคืนไม้กางเขน(ดั้งเดิมสมัยพระเยซู) และต้องเสียค่าปรับเป็นทอง 200,000 แท่ง แต่เนื่องจากต้องเสียเวลาหาทองจำนวนเท่านี้ กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ ผู้ที่นักประวัติศาสตร์เคยยกย่องและชื่นชมกันนั้นได้จับทหารมุสลิมจำนวน 27,000 คน ออกจากเมืองและสับต่อหน้าต่อตาคนทั้งหลาย เมืองอักกาตกอยู่ในมือพวกครูเสดที่บ้าศาสนาเหล่านี้ ส่วนทัพศอลาฮุดดีนต้องถอยทัพไปตั้งที่อื่นเพราะกำลังน้อยกว่าและกำลังหนุนไม่มีพอ ตอนหนึ่งมีเรือจากอียิปต์ลำเลียงเสบียงมาช่วย แต่เกือบถูกครูเสดยึดได้ นายเรือจึงสั่งให้จมเรือพร้อมทั้งคนในเรือทั้งหมด

กองทัพครูเสดภายใต้การนำของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ได้บุกไปยังอัสก็อลาน (ภาษาละติน: Ascolon) ศอลาฮุดดีนได้ยกกองทัพไปยันไว้ได้มีการรบกันอย่างกล้าหาญถึง 11 ครั้ง ในการรบที่อัรสูฟ ศอลาฮุดดีนเสียทหารราว 8,000 คน ซึ่งเป็นทหารชั้นดีและพวกกล้าตาย เมื่อเห็นว่าอ่อนกำลังป้องกันปาเลสไตน์ไม่ได้ จึงยกทัพไปยังอัสก็ออลาน อพยพผู้คนออกหมดแล้วรื้ออาคารทิ้ง เมื่อพระเจ้าริชาร์ดมาถึง ก็เห็นแต่เมืองร้าง จึงทำสัญญาสงบศึกด้วย โดยได้ส่งทหารไปพบน้องชายศอลาฮุดดีนชื่อ สัยฟุดดีน (ภาษาละติน: Saphadin) ทั้งสองได้พบกัน ลูกของเจ้านครครูเสดคนหนึ่งเป็นล่าม พระเจ้าริชาร์ดจึงให้บอกความประสงค์ที่อยากให้ทำสัญญาสงบศึก พร้อมทั้งบอกเงื่อนไขด้วย ซึ่งเป็นเงือนไขที่ฝ่ายมุสลิมยอมรับไม่ได้ การพบกันครั้งนั้นไม่ได้ผล

ฝ่ายมาร์ควิสแห่งมองเฟอร์รัดผู้ร่วมมาในกองทัพด้วยเห็นว่าการทำสัญญาโอ้เอ้ จึงส่งสารถึงศอลาฮุดดีน โดยระบุเงื่อนไขบางอย่าง แต่สัญญานี้ไม่เป็นผลเช่นกัน ต่อมาพระเจ้าริชาร์ดขอพบศอลาฮุดดีนและเจรจาเรื่องสัญญาสงบศึกอีก โดยเสนอเงื่อนไขว่า พวกครูเสดต้องมีสิทธิครอบครองเมืองต่าง ๆ ที่ได้ตีไว้ และฝ่ายมุสลิมต้องคืนเยรูซาเลมให้พวกครูเสด พร้อมกับไม้กางเขนที่ทำด้วยไม้ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นไม้ที่พระเยซูถูกพวกยิวตรึงทรมานด้วย ศอลาฮุดดีนปฏิเสธที่จะยกเมืองเยรูซาเลมให้พวกครูเสด แต่ยอมในเรื่องให้เอาไม้กางเขนที่กล่าวในเงื่อนไขที่ว่า พวกครูเสดต้องปฏิบัติตามสัญญาของตนอย่างเคร่งครัด การเจรจานี้ก็ไม่เป็นผลอีกเช่นกัน พระเจ้าริชาร์ดจึงหันไปเจรจากับสัยฟุดดีนใหม่โดยให้ความเห็นว่าการเจรจานี้ จะเป็นผลบังคับเมื่อศอลาฮุดดีนยินยอมด้วยในปั้นปลาย เงื่อนไขมีว่า

1.กษัตริย์ริชาร์ดยินดียกน้องสาวของเขาผู้เป็นแม่หม้าย(แต่เดิมเป็นมเหสีของกษัตริย์ครองเกาะสิซิลี)ให้แก่สัยฟุดดีน(น้องชายศอลาฮุดดีน)

2.ของหมั้นในการสมรสนี้คือ กษัตริย์ริชาร์ดจะยกเมืองทั้งหมดที่พระองค์ตีได้ ตามชายทะเลให้น้องสาวของตน และศอลาฮุดดีนก็ต้องยกเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ให้ น้องชายเป็นการทำขวัญเช่นกัน

3.ให้ถือเมืองเยรูซาเลมเป็นเมืองกลาง ยกให้แก่คู่บ่าวสาวนี้ และศาสนิกของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะใปมาพำนัก อยู่ในเมืองนี้อย่างเสรี บ้านเมืองและอาคารทางศาสนาที่ปรักหังพัง ต่างช่วยกันซ่อมแซม

ศอลาฮุดดีนยอมตามเงื่อนไขนี้ แต่สัญญาก็ไม่เป็นผลอีก เพราะพวกพระในศาสนาคริสต์ไม่ยอมให้พวกคริสเตียนยกลูกสาว, น้องสาว หรือผู้หญิงฝ่ายตนไปแต่งงานกับมุสลิมผู้ที่พวกเขาถือว่าเป็น“พวกนอกศาสนา” พวกบาทหลวงได้ชุมนุมกันที่จะขับพระเจ้าริชาร์ดออกจากศาสนาคริสต์ให้ตกเป็นคน นอกศาสนาไปด้วย และได้ขู่เข็ญน้องสาวของพระองค์ต่าง ๆ นานา

กษัตริย์ริชาร์ดจึงได้เข้าพบสัยฟุดดีนอีก ขอให้เปลี่ยนจากการนับถืออิสลามมาเป็นคริสเตียน แต่สัยฟุดดีนปฏิเสธ ในขณะเดียวกันกษัตริย์ริชาร์ดเกิดการรำคาญการแทรกแซงของมาร์ควิสแห่งมอง เฟอรัด จึงจ้างให้ชาวพื้นเมืองลอบฆ่า เมื่อเรื่องมาถึงเช่นนี้ กษัตริย์ริชาร์ดก็ท้อใจอยากยกทัพกลับบ้าน เพราะตีเอาเยรูซาเลมไม่ได้ ได้เสนอเงื่อนไขที่จะทำสัญญาสงบศึกกับศอลาฮุดดีนไม่ยอมต่อเงื่อนไขบางข้อ เพราะบางเมืองที่กล่าวนั้นมีความสำคัญต่อการป้องกันอาณาจักรอย่างยิ่ง ไม่สามารถปล่อยให้หลุดมือไปได้ แต่ความพยายามของนักรบทั้งสองนี้ยังคงมีต่อไป จนในที่สุดเมื่อวันที่ 22 ชะอฺบาน 588 (2 กันยายน 1192) ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกเป็นการถาวรและกษัตริย์ริชาร์ดได้ยกทัพกลับบ้านเมือง เขายกทัพผ่านทางตะวันออกของยุโรปโดยปลอมตัว แต่กลับถูกพวกเป็นคริสเตียนจับไว้ได้คุมขังไว้ ทางอังกฤษต้องส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวเขา

สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ก็ยุติลงเพียงนี้ ด้วการสูญเสียชีวิตมนุษย์นับแสน ผู้คนนับล้านไร้ที่อยู่ บ้านเมืองถูกทำลาย หลังจากนั้นศอลาฮุดดีนได้ยกทหารกองเล็ก ๆ ไปตรวจตามเมืองชายฝั่ง และซ่อมแซมสถานที่ต่าง ๆ และได้กลับมาพักที่ดามัสคัสพร้อมครอบครัว จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 27 ศอฟัร 589 (4 มีนาคม 1193) มีอายุเพียง 55 ปีเอง


ศอลาฮุดดีน (ซาลาดิน)

ภาพวาดซาลาดินจากหนังสืออาหรับในศตวรรษที่ 12สุลต่าน ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่ในระหว่างสงครามครูเสด (สุลต่าน คือกษัตริย์ของชาวมุสลิมซึ่งใช้ ชะรีอะหฺ (กฎหมายอิสลาม)ในการปกครองประเทศ ชาวยุโรปและอเมริกาก็เรียกเขาว่า ซาลาดิน ส่วนชาวมุสลิมยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ

มีหนังสือหลายเล่มเขียนเกี่ยวกับศอลาฮุดดีนผู้นี้ โดยเล่าถึงวีรกรรมและชัยชนะในสงคราม เช่นหนังสือชื่อ Daastaan Imaan Farooshoon Ki ซึ่งเขียนเป็นภาษาอูรดูโดยอัลทามาชซึ่งยกย่องศอลาฮุดดีนไว้มากมาย

สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (อังกฤษ: Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด[3][4]ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก


ภูมิหลัง

หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) แล้วทางยุโรปก็หมดความสนใจในการเข้าร่วมในการต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดใหม่ เยรูซาเลมมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid dynasty) ผู้ปกครองซีเรียทั้งหมดและอียิปต์นอกจากเมืองสองสามเมืองริมฝั่งทะเลที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของนักรบครูเสดของราชอาณาจักรเยรูซาเลมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเคอร์ และในราชอาณาจักรบนเกาะไซปรัสที่ก็ก่อตั้งระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงได้รับตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1198 และการเข้าร่วมสงครามครูเสดครั้งใหม่กลายมาเป็นพระประสงค์หลักของพระองค์ แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์กี่พระองค์ที่แสดงความสนพระทัยเท่าใดนัก ฝ่ายเยอรมนีเองก็มีความขัดแย้งกับอำนาจของพระสันตะปาปา และอังกฤษและ ฝรั่งเศสก็ยังยุ่งอยู่กับการทำสงครามต่อกัน แต่เมื่อฟุลค์แห่งเนยยี (Fulk of Neuilly) เริ่มเทศน์ก็เริ่มมีผู้กระตือรือร้นรวบรวมกองทัพครูเสดกันในการจัดการแข่งขันการประลองยุทธ (tournament) กันที่เอครี (Écry) โดยธีโอบอลด์ที่ 3 เคานท์แห่งชองปาญ (Theobald III, Count of Champagne) ในปี ค.ศ. 1199 ธีโอบอลด์ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำแต่มาเสียชีวิตเสียก่อนในปี ค.ศ. 1200 โบนิฟาซที่ 1 มาควิสแห่งมอนต์เฟอร์รัต (Boniface I, Marquess of Montferrat) เคานท์จากอิตาลีจึงมารับหน้าที่แทน โบนิฟาซและผู้นำคนอื่นๆ ส่งตัวแทนไปยังสาธารณรัฐเวนิส, สาธารณรัฐเจนัว และในนครรัฐต่างๆ เพื่อเจรจาต่อรองทำสัญญาในหาพาหนะในการเดินทางไปโจมตีอียิปต์ เจนัวไม่สนใจกับข้อเสนอ แต่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1201 ก็มีการเปิดการเจรจากับเวนิสผู้ตกลงขนย้ายทหารครูเสดจำนวน 33,500 คนซึ่งเป็นจำนวนที่ออกจะสูง ข้อตกลงนี้ทางเวนิสต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปีในการเตรียมตัวต่างๆ ที่รวมทั้งการสร้างเรือและฝึกกลาสีผู้ควบคุมเรือ ซึ่งทำให้เมืองเวนิสต้องหยุดยั้งการทำมาหากินอื่นๆ คาดกันว่ากองทัพครูเสดจะประกอบด้วยอัศวิน 4,500 (พร้อมกับม้า 4,500 ตัว), ผู้รับใช้ขุนนาง 9,000 คน และ ทหารราบอีก 20,000 คน

กองทัพครูเสดส่วนใหญ่ที่มาจากฝรั่งเศสเดินทางออกจากเวนิส ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1202 ทหารเหล่านี้มาจากบลัวส์, ชองปาญ, อาเมียงส์, แซงต์โปล, อีล-เดอ-ฟรองซ์ และ เบอร์กันดี นอกจากนั้นก็ยังมีกองทัพจากบริเวณอื่นในยุโรปที่มีจำนวนพอสมควรเช่นที่มาจากฟลานเดอร์ส, มอนต์เฟอร์รัต และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ สังฆราชคอนราดแห่งฮาลเบอร์ชตัท พร้อมทั้งทหารจากเวนิสเองที่นำโดยเอนริโค ดันโดโลดยุคแห่งเวนิส กองทัพมีจุดประสงค์ที่จะมุ่ตรงไปยังศูนย์กลางของมุสลิมที่ไคโรและพร้อมที่จะเดินทางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1202 ข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 โดยมีข้อห้ามการโจมตีรัฐคริสเตียน[5]
สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (อังกฤษ: Fifth Crusade) (ค.ศ. 1217-ค.ศ. 1221) เป็นสงครามครูเสด[1][2]ที่พยายามยึดเยรูซาเลมและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิดในอียิปต์

สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold VI, Duke of Austria) และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี ค.ศ. 1218 กองทัพเยอรมนีที่นำโดยโอลิเวอร์แห่งโคโลญและกองกำลังหลายชาติที่ประกอบด้วยกองทัพชาวเนเธอร์แลนด์, เฟลมมิช และฟรีเชียนที่นำโดยวิลเลียมที่ 1 เคานท์แห่งฮอลแลนด์ (William I, Count of Holland) ก็มาร่วม ในการที่จะโจมตีดามิยัตตาในอียิปต์ฝ่ายครูเสดก็ไปเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมในอานาโตเลียผู้โจมตีอัยยูบิดในซีเรียเพื่อที่ป้องกันไม่ให้นักรบครูเสดต้องเผชิญกับการต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันสองด้าน

หลังจากยึดเมืองท่าดามิเอตตาได้แล้วนักรบครูเสดก็เดินทัพลงใต้ต่อไปยังไคโรในเดือนกรกฎาคมในปี ค.ศ. 1221 แต่ต้องหันทัพกลับเพราะเสบียงร่อยหรอลง การจู่โจมยามกลางคืนของสุลต่านอัล-คามิลทำให้ฝ่ายครูเสดเสียงทหารไปเป็นจำนวนมาก อัล-คามิลตกลงในสัญญาสงบศึกแปดปีกับยุโรป

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปารีส นครแห่งแสงสี

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Porte de la Villette





ปารีสเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่น อีกทั้งยังเป็นเมืองที่สวยที่สุดในโลกสำหรับอีกหลายๆ คน

มงต์มาร์ตร (Montmartre), แซ็งต์-แฌร์แม็ง-เดส์-เปรส์ (Saint-Germain-des-Prés) แหล่งรวมร้านกาแฟหรู โรงหนังและแหล่งซื้อของ, เลอ มาเรส์ (Le Marais) ถิ่นแฟชั่นทันสมัย, แบลวิล (Belleville) ย่านไชน่าทาวน์, โอแบร์กองฟ์ (Oberkampf) สถานที่ย่ำราตรีย่านต่างๆ ของปารีส มีกิจกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และทำให้เมืองหลวงแห่งนี้มีเสน่ห์อย่างที่เป็นอยู่

การที่แต่ละมุมของปารีสน่าเที่ยวน่าชมเป็นเพราะมีบรรยากาศที่ไม่จำเจ มีการผสมผสานอย่างลงตัว ภาพปารีสที่มีผู้คนเดินเล่น ขี่จักรยานหรือเล่นสเก็ตอย่างเสรีบนถนนเลียบแม่น้ำแซน หรือกลุ่มศิลปินที่นั่งวาดภาพบนสะพานปาสเซอแรล เดส์ ซาร์ (Passerelle des Arts) หรือภาพของอาคารบ้านเรือนแบบคลาสสิคที่มองลงมาจากศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปอมปิดู (Pompidou) ภาพเหล่านี้แม้จะมาต่อรวมกันทั้งหมดก็ยังไม่พอที่จะอธิบายความเป็นปารีสได้ เพราะปารีสมีเอกลักษณ์ของตัวเอง

history of frence [Rome to revolution]

 
The borders of modern France are approximately the same as those of ancient Gaul, which was inhabited by Celtic Gauls. Gaul was conquered for Rome by Julius Caesar in the 1st century BC, and the Gauls eventually adopted Roman speech (Latin, which evolved into the French language) and Roman culture. Christianity took root in the 2nd century and 3rd century AD, and became so firmly established by the fourth and fifth centuries that St. Jerome wrote that Gaul was the only region "free from heresy".

In the 4th century AD, Gaul's eastern frontier along the Rhine was overrun by Germanic tribes, principally the Franks, from whom the ancient name of "Francie" was derived. The modern name "France" derives from the name of the feudal domain of the Capetian Kings of France around Paris. The Franks were the first tribe among the Germanic conquerors of Europe after the fall of the Roman Empire to convert to Catholic Christianity rather than Arianism (their King Clovis did so in 498); thus France obtained the title "Eldest daughter of the Church" (La fille ainée de l'Église), and the French would adopt this as justification for calling themselves "the Most Christian Kingdom of France".

Existence as a separate entity began with the Treaty of Verdun (843), with the division of Charlemagne's Carolingian empire into East Francia, Middle Francia and Western Francia. Western Francia approximated the area occupied by modern France and was the precursor to modern France.

The Carolingians ruled France until 987, when Hugh Capet, Duke of France and Count of Paris, was crowned King of France. His descendants, the Direct Capetians, the House of Valois and the House of Bourbon, progressively unified the country through a series of wars and dynastic inheritance. The monarchy reached its height during the 17th century and the reign of Louis XIV. At this time France possessed the largest population in Europe (see Demographics of France) and had tremendous influence over European politics, economy, and culture. France obtained many overseas possessions in the Americas, Africa and Asia.

Monarchy to republic

Lord Cornwallis' surrender following the Siege of Yorktown. French participation was decisive in this battle, 1781

The monarchy ruled France until the French Revolution, in 1789. King Louis XVI and his wife, Marie Antoinette, were executed, along with thousands of other French citizens. After a series of short-lived governmental schemes, Napoleon Bonaparte seized control of the Republic in 1799, making himself First Consul, and later Emperor of what is now known as the First French Empire (1804–1814). In the course of several wars, his armies conquered most of continental Europe, with members of the Bonaparte family being appointed as monarchs of newly established kingdoms.

Following Napoleon's final defeat in 1815 at the Battle of Waterloo, the French monarchy was re-established, but with new constitutional limitations. In 1830, a civil uprising established the constitutional July Monarchy, which lasted until 1848. The short-lived Second Republic ended in 1852 when Louis-Napoléon Bonaparte proclaimed the Second French Empire. Louis-Napoléon was unseated following defeat in the Franco-Prussian war of 1870 and his regime was replaced by the Third Republic.

France had colonial possessions, in various forms, since the beginning of the 17th century until the 1960s. In the 19th and 20th centuries, its global colonial empire was the second largest in the world behind the British Empire. At its peak, between 1919 and 1939, the second French colonial empire extended over 12,347,000 square kilometres (4,767,000 sq mi) of land. Including metropolitan France, the total area of land under French sovereignty reached 12,898,000 square kilometres (4,980,000 sq mi) in the 1920s and 1930s, which is 8.6% of the world's land area.

Eugène Delacroix - La Liberté guidant le peuple ("Liberty leading the People"), a symbol of the French Revolution of 1830

Though ultimately a victor in World War I, France suffered enormous human and material losses that weakened it for decades to come. The 1930s were marked by a variety of social reforms introduced by the Popular Front government. At the start of World War II, France held a series of unsuccessful rescue campaigns in Norway, Belgium and The Netherlands from 1939 to 1940. Upon the May-June 1940 Nazi German blitzkrieg and its Fascist Italian support, France's political leadership disregarded Churchill's proposal of a Franco-British Union and signed the Second Armistice at Compiègne surrender on June 22, 1940. The Germans established a puppet regime under Marshal Philippe Pétain known as Vichy France, which pursued a policy of collaboration with the enemy. The regime's opponents formed the Free French Forces outside of France and the French Resistance inside. France was liberated with the joint effort of the United States, the United Kingdom, Canada, the Free French Forces and the French resistance in 1944. Soon the Nouvelle Armée Française ("new French army") was established with the massive help of US-built material and equipment, and pursued the fight along the Allies in various battles including the campaign of Italy.

The French Fourth Republic was established after World War II and struggled to maintain its economic and political status as a dominant nation state. France attempted to hold on to its colonial empire, but soon ran into trouble. The half-hearted 1946 attempt at regaining control of French Indochina resulted in the First Indochina War, which ended in French defeat at the Battle of Dien Bien Phu in 1954. Only months later, France faced a new, even harsher conflict in its oldest major colony, Algeria.

The debate over whether or not to keep control of Algeria, then home to over one million European settlers, wracked the country and nearly led to civil war. In 1958, the weak and unstable Fourth Republic gave way to the Fifth Republic, which contained a strengthened Presidency. In the latter role, Charles de Gaulle managed to keep the country together while taking steps to end the war. The Algerian War of Independence and Franco-French civil war that resulted in the capital Algiers, was concluded with peace negotiations in 1962 that led to Algerian independence.

In recent decades, France's reconciliation and cooperation with Germany have proved central to the political and economic integration of the evolving European Union, including the introduction of the euro in January 1999. France has been at the forefront of the European Union member states seeking to exploit the momentum of monetary union to create a more unified and capable European Union political, defence, and security apparatus. However, the French electorate voted against ratification of the European Constitutional

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรคโพรพีเรียหรือผีดูดเลือด ( Porphyria )

 

     เป็นโรคเลือดที่เกิดจากความผิดปกติของเลือด จากการที่ร่างกายขาดเอนไซม์ ( Enzymes ) ที่ใช้สร้างร่างกาย ที่เรียกว่า "Heme" ซึ่งอาการของโรคจะแสดงออกมาสองลักษณะใหญ่คือทางจิต และทางผิวหนังร่างกาย ชื่อ Porphyria มาจากภาษากรีซ คำว่า porphyrus ซึ่งแปลว่า สีม่วง ( purple )

เหตุที่ทำให้โรคโพรพีเรีย ถูกเรียกว่า โรคผีดูดเลือด

-การรักษาทำได้การถ่ายเลือด ให้เลือด ในสมัยโบราณอาดใช้การให้ดื่มเลือด

-ผิวหนังจะเกิดอาการแพ้แสง จะเกิดเป็นแผลพุพองขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลัวแสง และออกจากบ้านเฉพาะ
  เวลากลางคืน

-อวัยวะส่วนยื่นเป็นระยางยื่น เช่นจมูก นิ้วมือนิ้วเท้า จะเกิดเป็นแผลเรื้อรัง จนหลุดขาดออกจากร่างกาย

-ริมฝีปากจะเกิดอาการดึงรั้ง จนมองเห็นฟันชัดเจน

-กระเทียมมีการเคมีบางตัวที่ใช้รักษาโรคโพรพีเรีย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าผู้ป่วยบางคนกลัวกระเทียม


มือที่ผิวหนังหลุดล่อน น่ากลัว ที่เกิดจากโรค ทำให้ ผู้ป่วยที่เป็นโรค porphyria มีสีผิวขาวกว่าปรกติ



เด็กน้อยที่ดูท่าทางอิดโรย และต้องการกรอกเลือด


จากโรคแปรเปลี่ยนเป็นตำนาน Vampire

     ตำนานของชาวคาร์เพเทียนมิได้บอกว่าผีดิบขึ้นมาจากโลง ที่ถูกฝังลึกลงไปได้อย่างไรเพราะผีดิบไม่ใช่วิญ ญาณแต่เป็นศพที่ไร้ลมหายใจจะแทรกโลงแทรกพื้นดินขึ้นม าไม่ได้ แต่ตำนานกลับซ่อนปมเด่นของ ท่านเคานต์ไว้ว่า "สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาว เป็นหมาป่า เป็นกลุ่มควันและมีอำนาจสะกดจิตในดวงตากล้า แข็งมากจนเมื่อได้สบตาเหยื่อแล้วเหยื่อจะไม่อาจขัดขื นให้ท่านเคานต์ดูดเลือดจากคอได้เลย"ผีดูดเลือดมา จากไหนนี่เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบมาก่อนจนถึงศตวรร ษที่19 ได้มีการค้นพบค้างคาวชนิดหนึ่งในป่า ร้อนชื้นของทวีปอเมริกา เจ้าค้างคาวประเภทนี้มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้เขี้ยว เจาะเส้นเลือดของสัตว์ต่างๆแล้ว ดูดเลือดกินมันจะเข้าจู่โจมสัตว์เลี้ยงเช่นแกะ วัว หรือแม้แต่สุนัขแล้วดูดเดือดออกไปจนแห้งและตายด้วย เลือดหมดตัวหรือโลหิตจาง ผุ้ค้นพบขนานนามมันว่า "แวมไพร" และหน้าตาของเจ้าแวมไพร์ก็แสนจะน่า เกลียดและน่ากลัว เจ้าค้างคาวแวมไพร์นี่และที่กลายมาเป็นเคานต์แดร็กคิวลาในที่สุด


ใครคือท่านเคานต์

เค้าท์แดรกคูลา - เจ้าชายวลาด ทีปีส แห่งแคว้น วัลลาเซีย - แวมไพร์ผู้เป็นอมตะ อาศัยอยู่ในปราสาทที่ทรานซิลเวเนีย เป็นชายชราแต่ร่างกายแข็งแรง มีผมและหนวดเคราสีขาวโพลน ตาสีแดงมีแววโหดเหี้ยม ฟันเล็กแหลมคม ชอบสวมชุดยาวสีดำล้วน พูดภาษาอังกฤษชัดเจนแต่สำเนียงแปล่ง จะปรากฏตัวเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น พยายามจะขยายอิทธิพลจากทรานซิลเวเนียไปทั่วยุโรป โดยเริ่มจากลอนดอน

สรุปแล้วท่านเคาร์ืืท ก็คือชายผู้ที่ป่วยด้วยโรค Porphyria นี่เอง


การติดต่อ

การกัด การขีดข่วน การให้เลือด เพศสัมพันธ์


พบโครงกระดูกผีดูดเลือด (Vampires)


ในช่วงศตวรรษที่ 15-16 กาฬโรค ( Plague ) ได้ระบาดในอิตาลี ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อเรื่องภูตผี ปีศาจ จึงเชื่อว่าเหตุของโรคร้ายเกิดจากผีดูดเลือด ( Vampire ) จึงการค้นพบนี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันในความเชื่อนี้ในยุคกลาง สิ่งที่พบคือโครงกระดูกบางส่วน และกระโหลกศีรษะของผู้หญิงคนหนึ่ง ทีถูกก้อนอิฐขนาดใหญ่ยัดไว้ในปาก ซึ่งมันเป็นวิธีการของหมอผีที่ใช้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีดูดเลือด เพราะเชื่อว่าวิธีการดังกล่าวจะสามารถหยุกยั้งการแพร่กระจายของโรคร้ายได้ โครงกระดูกนี้ และโครงกระดูกอื่นถูกค้นพบที่ หลุมศพผู้ติดเชื้อกาฬโรค บนเกาะ Lazzaretto Nuovo ประเทศอิตาลี ซึ่ง Borrini นักโบราณคดีที่ขุดค้นกล่าวว่า " พวกเราโชคดีมากที่ค้นพบหลุมฝังศพ และโครงกระดูก ในยุคกลางแห่งนี้เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าการในการรักษาศพในยุคนั้นไม่ค่อยดีทำให้ไม่ค่อยเหลือหลักฐานอะไรจากยุคนั้นมากนัก"


อื่นๆ โรค Nemo mutation (ผู้ป่วยที่มีเขี้ยวเหมือน vampire)


ผู้ป่วยที่เป็นโรค Nemo mutation (ชื่อเล่นของโรคโพรพีเรียอีกทีหนึ่ง) จะมีเขี้ยวแหลมเหมือนแวมไพร์ บางรายอาจจะมีฟันทั่วไปด้วย ในบางรายอาจไม่มีฟันเลย มีแต่เขี้ยว 4ซีก

แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอายุไม่ยาว ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตช่วงอายุประมาณ 10ขวบขึ้นไป จึงทำให้พบได้ยากมาก ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยโรคแวมไพร์ มีอาการแทรกซ้อนของโรค Nemo แล้วล่ะก็ ไม่แปลกใจเลย หากผู้คนในยุโรปสมัยโบราณจะคิดว่า คนเหล่านี้เป็นปีศาจ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปราสาทเทพนิยายแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส


ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley)  ในตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เคยเป็นดินแดนที่ทรงอิทธิพลของประเทศ   เป็นเสมือนดินแดนในฝันของเจ้าชายเจ้าหญิง   มีปราสาทราชวังใหญ่โตโอฬารที่มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง  เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า ชาโตว์ (chateau หรือในรูปพหูพจน์ chateaux)   ปราสาทเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแสดงออกทางฐานะ และหน้าตาทางสังคม  แสดงถึงความฟุ้งเฟ้อตามสไตล์ฝรั่งเศส

ปราสาทเหล่านี้มีทั้งหมด 300 กว่าหลัง สร้างโดยกษัตริย์ และขุนนางในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10-20 และในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโก้ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ให้เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม



ปราสาทชองบอร์ด (Chambord) เป็นปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำลัวร์ สร้างในสไตล์เรอเนซองส์แบบฝรั่งเศสโดยพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 หลังจากที่พระองค์ได้ครอบครองเมืองมิลานและได้เห็นสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์อิตาลี พระองค์จึงมีพระประสงค์ที่จะสร้างปราสาทให้เป็นที่อิจฉาของยุโรปในสมัยนั้น

พระองค์ทรงโปรดการล่าสัตว์  จึงสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นในป่าเพื่อสะดวกกับการล่าสัตว์   บริเวณปราสาทจะมีกวาง หมูป่าเดินอยู่รอบ ๆ  หลังจากสวรรคต ปราสาทแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลากว่า 400 ปี



ไม่ไกลจากปราสาทชองบอร์ด จะถึงปราสาทเชอนองโซ (Chenonceau) พระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 โปรดเสด็จมาที่นี่ ต่อมาตกเป็นสมบัติของพระเจ้าอองรีที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 พระเจ้าอองรีที่ 2 ทรงอภิเษกกับพระนางแคเธอรีน (Catherine de Medici) แต่ทรงโปรดสาวงามนางหนึ่งและได้ยกปราสาทเชอนองโซให้เป็นที่อาศัยของพระสนมดิอาน (Diane de Poitiers) ดิอานโปรดปรานปราสาทแห่งนี้มาก ได้สร้างสะพานเชื่อมจากปราสาทไปยังอีกฝั่งของแม่น้ำแชร์



ต่อมาเมื่อพระเจ้าอองรีที่ 2 เสด็จสวรรคต พระนางแคเธอรีนได้ยึดปราสาทเชอนองโซจากพระสนมดิอาน และเสด็จประทับที่ปราสาทแห่งนี้แทน พระนางได้สร้างปราสาทสองชั้นเหนือสะพานของดิอาน ตอนเย็นปราสาทแห่งนี้จะเรืองรองด้วยแสงไฟจากงานเลี้ยงรื่นเริง ซึ่งส่องแสงสะท้อนบนน้ำที่นิ่งสงบของแม่น้ำแชร์


ปราสาทเชอแวร์นี (Cheverny)  สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1924-1930   ปราสาทแห่งนี้ตกเป็นสมบัติของพระเจ้าอองรีที่ 2  ซึ่งยกให้พระสนมดิอาน  แต่ดิอานโปรดปรานปราสาทเชอนองโซมากกว่า  จึงขายปราสาทแห่งนี้ให้เจ้าของเดิม



ปราสาทอองบัวซ์ (Amboise)  ที่สวยงามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่  11  ครั้งหนึ่งเคยเป็นพระราชวังหลวงในช่วงปีคริสต์ศตวรรษที่ 15-16   กษัตริย์ของฝรั่งเศสหลายพระองค์โปรดที่จะประทับ ณ ปราสาทแห่งนี้   โดยเฉพาะพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 ผู้ชักชวนให้ลีโอนาร์โด ดาวินชี มาอยู่ที่เมืองนี้   และได้นำศิลปะแบบเรอเนซองส์ของอิตาลีเข้ามายังบริเวณแถบนี้ด้วย


 บ้านของลีโอนาร์โด ดาวินชี สมัยที่ย้ายมาอยู่ที่ลุ่มน้ำลัวร์  เขาใช้ชีวิตในช่วงสามปีสุดท้ายที่นี่ และสิ้นใจในปี ค.ศ.1519


ปราสาทบลัวส์ (Blois)  ใช้เวลาถึง 4 ศตวรรษในการสร้าง  สถาปัตยกรรมจึงเป็นส่วนผสมของศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าว   จริง ๆ ปราสาทบลัวส์ประกอบไปด้วยปราสาท 4 หลังในสไตล์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  เชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกันในศิลปะแบบกอธิกส์  เรอเนซองส์  อิตาเลียน  และ เฟรนช์คลาสสิกสไตล์   ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือบันไดวน และลวดลายศิลปะด้านหน้าอาคาร


ปราสาทอาเซย์-เลอ-ริโด (Azay-le-Rideau)  เป็นปราสาทเล็ก ๆ แต่มีเสน่ห์ดึงดูดมากพอที่จะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ฝรั่งเศสถึงสามพระองค์   สร้างในศิลปะเรอเนซองส์แบบอิตาเลียน  ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่ได้รับการบูรณะดูแลดีที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำลัวร์



ปราสาทอุสเซ่ (Usse)  ด้วยบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติก  ว่ากันว่า Charles Perrault ซึ่งเป็นผู้แต่งนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา  ได้แรงดลใจในการประพันธ์มาจากการเยี่ยมชมปราสาทแห่งนี้ในคริสตศตวรรษที่ 17  ปัจจุบันเจ้าของปราสาทยังคงอาศัยอยู่ที่นี่  แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเพื่อเป็นค่าดูแลและซ่อมแซมปราสาทที่ต้องใช้เงินมหาศาล 



ปราสาทวิลองดรี (Villandry) ล้อมรอบด้วยสวนสวย ๆ แบบเรเนอซองส์


เมืองตูร์ (Tours)  มีประชากร 140,000 คน  ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำลัวร์ทางตอนเหนือและแม่น้ำแชร์ทางตอนใต้   มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน   อาคารส่วนใหญ่ในเมืองจะมีสีขาวหลังคาน้ำเงิน


ในเขตเมืองเก่า ตรงกลางเป็นจัตุรัสชื่อว่า Place Plumereau มีบ้านเรือนในยุคกลางซึ่งบางส่วนเป็นไม้ซุง   มีร้านอาหารและผับตั้งเรียงรายเต็มไปหมด



โบสถ์แห่งเมืองตูร์ สร้างอุทิศแด่บิชอปแซงต์กาเตียง (Saint-Gatien)  เริ่มสร้างในปี ค.ศ.1170 เพื่อแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ในสงครามเมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้   แต่สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบกอธิกส์ยุคศตวรรษที่ 15


รูปกษัตริย์ฝรั่งเศสที่เคยประทับอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำลัวร์แห่ง

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีดูแลผิวเมื่อเข้าหน้าหนาว!!!



วิธีดูแลผิวหน้าหนาวสำหรับสาวๆ ผิวแห้ง ตอนนี้เริ่มเข้าหน้าหนาวกันแล้ว สิ่งที่เห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงของร่างกายคือสุขภาพผิวนั่นเอง โดยเฉพาะผิวแห้งยิ่งเป็นปัญหาใหญ่และเห็นได้ชัด หากไม่ได้รับการบำรุงดูแลเอาใจใส่แล้ว อาจจะทำให้ผิวของคุณเสียและขาดความมั่นใจ เพราะเกิดปัญหาผิวแตกลายได้ จึงมีวิธีมาแนะนำสำหรับสาวๆ ที่กำลังประสบปัญหาผิวช่วงหน้าหนาว


กระชับรูขุมขนช่วงหน้าหนาว

อากาศหนาวจะทำให้ผิวของคนเราขาดความชุ่มชื่น โดยเฉพาะตอนที่เราอาบน้ำจะทำให้ผิวของเรามีความตึงมากยิ่งขึ้นกว่าปกติ หลังจากที่เราอาบน้ำแล้วภายใน 3 นาที เราก็ควรที่จะทาโลชั่นทันที เพื่อป้องกันผิวแตกแห้ง และเกิดเป็นขุยขาวได้

สำหรับคนที่มีรูขุมขนกว้าง โดยเฉพาะคนที่ย่างเข้าวัย 20 ปลายๆ อาจจะรู้สึกว่ารูขุมขนดูขยายใหญ่ขึ้น ทุกๆ เช้าหลังล้างหน้า ให้นำน้ำแข็งลูบให้ทั่วหน้า ทำทุกวันจะรู้สึกได้เลยค่ะ ว่ารูขุมขนกระชับขึ้น ในระหว่างวันก็ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวด้วยคะ


ดูแลผิวหน้าหนาวสำหรับสาวผิวแห้ง

ผิวแห้งเป็นปัญหาที่เกิดจากผิวขาดวิตามินและความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวนี้ยิ่งแล้วใหญ่ อากาศหนาวจะทำให้ผิวของคุณแห้งยิ่งกว่าเดิม นอกจากคุณจะบำรุงผิวด้วยครีมบำรุงแล้วก็ควรที่จะดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อผิวแห้งจะได้ชุ่มชื้นขึ้น


การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวนี่เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงใช่ย่อยนะคะ แทนที่คุณสาวๆ ผิวแห้งจะใช้ผลิตภัณฑ์แบบต้องใช้น้ำเปล่าล้างเหมือนเคย ลองเปลี่ยนมาเป็นประเภทน้ำนมทำความสะอาดผิวดู เพราะนอกจากจะช่วยทำความสะอาดเครื่องสำอางและสลายเซลล์ผิวเก่าแล้ว ยังช่วยให้คุณสาวๆ ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้นด้วยล่ะค่ะ

ประวัติโมนาลิซ่า


โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ที่มาของชื่อ

คำว่า'โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)



ประวัติ

ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด
ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 63 ปี

ใบหน้าของมาดามลิซ่าตอนนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย

และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด



ทฤษฎีสมทบ

กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินซี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเพื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุกๆด้านและทุกๆมุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ถูกซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย