วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ซากุระเมืองไทย(ในบ้านเรานี่เอง...ไม่ต้องไปไหนไกล)





นางพญาเสือโคร่ง เรียกกันว่า ซากุระเมืองไทย เพราะพรรณไม้ท้องถิ่นอันงดงามชนิดนี้ของประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น คือ วงศ์กุหลาบ (Rosaceae) โดยนางพญาเสือโคร่งอยู่ในสกุล Prunus เช่นเดียวกับต้นเชอรี่ แอปริคอต พลัม แอปเปิลท้อ และสาลี่ ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ขอบอากาศหนาวเย็น นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) เป็นไม้ต้นผลัดใบที่พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติไหล่เขาหรือบนสันเขาบริเวณเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรขึ้นไป สภาพเป็นป่าดิบเขา อย่างเช่นบนดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะบริเวณสันเขาของดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงรายมีตนนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่หนาแน่น ยามผลิดอกพร้อมกันจะงดงามราวสวรรค์ ลักษณะพืชชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเป็นมัน สีน้ำตาลอมแดงมีรูอากาศขนาดใหญ่และเปลือกมักลอกหลุดออกเป็นแถบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบหยัก ก่อนฤดูออกดอกคือราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์มันจะทิ้งใบเหลือแต่กิ่งโล่งๆ ก่อนผลิดอกออกเต็มต้น โดยดอกมีขนาด 1-2.5 ซ.ม. ออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีกลีบบอบบาง 5 กลีบ ดอกนางพญาเสือโคร่งมีหลายเฉดสี ทั้งขาว ชมพูสด และแดง แต่ที่หายากที่สุดคือสีขาว เมื่อดอกได้รับการผสมจะติดผลรูปไข่ขนาดประมาณ 1-1.5 ซ.ม. เป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และพบมากบนดอยแม่สลอง จ.เชียงราย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides D.Don
วงศ์ : Rosaceae
ชื่อสามัญ: นางพญาเสือโคร่ง
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: ชมพูภูพิงค์
สถานที่พบ : ที่โล่งชายป่าดิบเขา ระดับความสูง 1000-2000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย
สถานภาพ : พืชหายาก ไม้ประดับ
ดอก: ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง มีทั้งสีชมพู แดงและขาว เมื่อดอกได้รับการผสมจะติดผลรูปไข่ ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอรี่
นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบหยักถี่ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย
ดอก : ดอกดกมาก มีสีขาว ชมพูแดง ชมพูสด หรือดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย ขณะออกดอก จะผลัดใบทิ้งจนหมดต้น
ผล : รูปไข่หรือค่อนข้างกลม ผิวเรียบยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง
ระยะเวลาออกดอก : ออกดอระหว่างดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก ผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว แต่ไม่ควรกินมากจนเกินไปเพราะอาจท้องเสียได้
ถิ่นกระจายพันธุ์ : ต่างประเทศพบที่ เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม
ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น