ขนาด : 20 เซนติเมตร
แพร่กระจาย : ทะเลไทย
บริเวณที่พบ : ปลาผิวน้ำ พบกลางทะเล ไม่เข้าแนวปะการัง
ความลึก : 1-5 เมตร
อาหาร : ลูกปลากลางน้ำ ฯลฯ
สถานการณ์ : ไม่มีข้อมูลแน่นอน แต่ปัจจุบันยังพบได้ทั่วไป
อนุรักษ์ : ไม่นิยมกิน เลี้ยงไม่ได้
Fish Tip : นั่งมองดูปลานกกระจอกร่อนไปมา ถือเป็นความสนุกระหว่างนั่งเรือ
ปลาบินอยู่ในทะเลเเถบร้อนเเละอากาศอุ่นทั่วไปที่น่าสนใจคือมันมีสี่ปีกเเห่งมหาสมุทรเเอตเเลนติกปลาบินชนิดนี้ตัวยาวราว 30 เซนติเมตรมีปีกสองคู่ตรงที่ควรเป็นครีบเเต่มันไม่ได้กระพือปีกอย่างนกเวลาบินมันใช้เครืองช่วยร้อนเท่านั้นเมื่อปลาบินเตรียมที่จะบินมันจะโพล่จากใต้น้ำ้เเละว่ายน้ำด้วยความเร็วสูงสุดขยับหางจากข้างหนึ่งตีน้ำอย่างเเรงเร็วเหมืนสั่น เร็วมากครั้งต่อวินาที้้เสมือนว่าขนาดตีน้ำได้ 50มันกำลังใช้หาง ทุกครั้งที่เราอออกทะเล มีปลาอยู่ชนิดหนึ่งที่โผล่ขึ้นมาทักทายกันเป็นประจำ เรียกว่าเป็นปลาชนิดแรกๆที่ทุกคนจะได้เห็น ไม่ว่าคุณจะดำน้ำได้หรือไม่ได้ จะล่องเรือไปเกาะแสนไกล หรือไปแค่เกาะใกล้ๆฝั่ง คุณไม่จำเป็นต้องลงน้ำให้ตัวเปียกเสียด้วยซ้ำ เพราะปลากลุ่มนี้จะ "บิน" ขึ้นมาให้คุณชม จนหลายคนเรียกพวกเขาว่า "ปลาบิน"
ปลาบินมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า"ปลานกกระจอก"ลักษณะคล้ายปลาในครอบครัว Carangidae (ปลาทู ฯลฯ) แต่จุดเด่นที่แตกต่างคือครีบอกขนาดใหญ่ ยาวออกมาลักษณะคล้ายปีก ยามเมื่อปลานกกระจอกว่ายด้วยความเร็วสูง พุ่งขึ้นเหนือน้ำ แล้วกางครีบอกออก พวกเขาสามารถร่อนเลียบผิวน้ำไปได้ในระยะทางไกลๆ บางครั้งอาจถึง 30 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดปลาและจังหวะในการร่อน การร่อนของปลานกกระจอก ปรกติทำขึ้นเพื่อหนีศัตรูหรือเมื่อเขาตกใจ เช่น ปลาอินทรีว่ายไล่ ปลานกกระจอกจะสปีดตัวเองแล้วพุ่งขึ้นเหนือน้ำ ร่อนไปข้างหน้า สังเกตสักนิดว่าพวกเขาจะไม่ร่อนไปตรงๆ แต่อาจเลี้ยวโค้งซ้ายหรือขวา ปลาอินทรีที่ว่ายตามหลังมาย่อมไม่เห็นว่าเหยื่อหนีไปทางไหน ถึงจะพุ่งต่อไปข้างหน้าก็ไม่เจอเหยื่อแล้ว เพราะเขาเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาหลบไป เทคนิคนี้จึงช่วยให้ปลานกกระจอกรอดตาย แต่ไม่เสมอไป บางครั้งเขาอาจถูกกินก่อนจะได้ร่อน สำหรับพวกเรา ปลานกกระจอกถือเป็นสีสันและความมหัศจรรย์แห่งท้องทะเล
ปลาบินไม่ได้บินไปแบบนก ที่อยู่กลางอากาศ เพียงแต่ว่ามันสามารถกระโดด และลอยอยู่บนอากาศได้นาน และร่อนไปได้ไกลกว่าปกติมันจงได้รับฉายาที่เรียกว่าปลาบิน
ที่จริงมันก็ไม่ได้พิเศษอะไรมากกว่าปกติหรอก เพียงแต่ว่า มันเป็นผลพวงของวิวัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เพราะสิ่งที่เราจะเห็นได้ คือ สัตว์ทุกชนิด มักมีศัตรูตามธรรมชาติครับ เพราะงั้น ในกรณีนี้ก้เช่นกัน ด้วยเหตุที่มีศัตรูในธรรมชาติเยอะมาก จึงทำให้มันมีการปรับตัวครับ ด้วยระยะเวลานาน หลายล้านปี ทำให้วิวัฒนาการมันได้พัฒนาสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย และสิ่งนั้นมันก็คือครีบที่มีขนาดใหญ่ 4 ครีบ
และด้วยเหตุที่มีครีบขนาดใหญ่นี้เอง ทำให้มัน สามารถพยุงตัวในอากาศไปได้ไกลกว่าปกติ ชึ่งในกระบวนการบินของมัน มันจะแผ่ขยายครีบอก ทั้ง 4 ครีบออกกว้างขึ้น และ สะบัดหาง การสะบัดหาง มันสะบัดหางมากถึง 70 ครั้งต่อวินาที จากนั้นมันจะมาที่ผิวน้ำ ด้วยครีบที่กว้าง และรปร่างที่เหมาะสม ทำให้ผิวน้ำ ยะตัวมันขึ้น ด้วยการไถลไปบนผิวน้ำ และลมบนผิวของมหาสมุทรจะดันตัวมันขึ้น ผยุงตัวมันไว้
ตามข้อมูลแล้ว มันสามารถเดินทางด้วยความเร็วถึง 70 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และสามารถ ไปได้ไกลถึง 164-665 ฟุต ต่อระยะการบิน 1 ครั้ง และสามารถบินได้ในความสูง 1.2 เมตร
ปลาพวกนี้มีสายพันธุ์ย่อยมากถึง 64 ชนิด แบ่งออกได้ 7-9 สกุล แต่ทั้งหมดเป็นปลาทะเลครับ พบได้ในเขตร้อน และกึ่งร้อนในเขตน้ำอุ่นทั่วโลก
และยังมีข้อมูลอีกว่า ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ไวต่อแสง ดังนั้น นักจับปลา จะใช้ เรือแคนนู โดยใส่น้ำไว้ข้างในเรือ โดยมีน้ำในปริมาณ ที่ทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้ แต่ไม่มีน้ำพอที่จะทำให้ปลาพยุงตัวขึ้นได้ ทำให้ปลานั้นมาเล่นแสงไป และกระโดดเข้าไปติดอยู่ในเรื่อเป็นจำนวนมาก
ปลาชนิดนี้ ยังไม่มีมาตรการอนุรักษ์ แต่อยู่ในสถานะที่ถูกล่ามากเลยทีเดียว
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ปลาพระอาทิตย์
ปลาพระอาทิตย์ (Ocean Sunfish) หรือเรียกกันว่าทางชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า โมล่า-โมล่า (Mola mola) อยู่ในครอบครัว Molidae มันเป็นปลากระดูกแข็ง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ปลาฉลามวาฬ จัดว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มันเป็นปลาทีี่่จัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน) มันสามารถมีความยาวถึง 4 เมตร และหนักกว่า 2,300 กิโลกรัม หรือ 2 ตันกว่า อยู่ในวงศ์ Molidae ซึ่งนับเป็นญาติกับกลุ่มปลาปักเป้า (Puffer Fish)และก็เกี่ยวดองกับ ปลาวัว (Trigger Fish) อีกด้วย
ปลาโมลา โมล่า เป็นปลาที่มีปริมาณที่ไม่มากนัก ถึงแม้มันจะวางไข่ได้คราวละ 300 ล้านฟองก็ตาม แต่ปริมาณการรอดชีวิตนั้นน้อยมาก เนื่องจากมันเป็นปลาที่ตัวใหญ่และเคลื่่อนไหวได้เชื่องช้า เมื่อเปรียบเทียบกับปลาอื่นๆ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆ เสียหมด สายพันธุ์ของปลาโมลา โมล่าที่พบเห็นมีด้วยกันอยู่ 5 สายพันธุ์ด้วยกัน ถึงแม้ว่าไม่มีปลาชนิดนี้ในบ้านเราแต่ก็มีปลาที่ถูกสต๊าฟไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแห่ง ซึ่งได้ตัวอย่างของปลาชนิดนี้มาจากชาวประมงที่ออกไปจับปลาในน่านน้ำเพื่อนบ้าน เช่นในประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งใน 2 ประเทศนี้มีปลาชนิดนี้อยู่มากพอสมควร
มันเป็นปลาที่มีรูปร่างแปลกประหลาดอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น รูปร่างมันเหมือนกับถูกตัดขาดครึ่งตัว ไม่มีส่วนหาง (เป็นที่ีมาของชื่อ เฮดฟิช) ลำตัวที่แบนกว้าง ผิวหนังที่ไม่มีเกล็ด แผ่นหนังที่ว่านี้มีความหนากว่า 15 มิลลิเมตร เหนียว และยืดหยุ่น ส่วนครีบท้องและครีบหลัง ยื่นยาวออกไปมาก มันใช้โปกไปทางซ้ายและขวาในการว่ายน้ำ ครีบหูกลม ปากค่อนข้างเล็ก มีฟันแบบเดียวกับปลานกแก้ว หรือปลาปักเป้า ส่วนของสมองถือได้ว่าเล็กมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของตัว กล่าวคือมัีนมีขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้นเอง
เมื่อยังเป็นลูกปลา มันมีขนาดเล็กมากประมาณ 2-3 มม. เท่านั้นเอง มีหนามแหลมเหมือนปลาปักเป้าอยู่ 4-5 อัน และจะหายไปหมดเมื่อโตขึ้น มันเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด แต่ก็บพว่าเข้ามาหากินใกล้ฝั่งในบางครั้ง มักจะพบเห็นว่ามันว่ายน้ำช้าๆ ตามกระแสน้ำ บางช่วงจะอยู่ใกล้ผิวน้ำ จนครีบหลังโผล่เหนือผิวน้ำ เหมือนปลาฉลาม มันเป็นปลาทีีี่มีพยาธิ หรือปาราสิต ค่อนข้างมากที่บริเวณผิวหนัง มันจึงชอบว่ายไปตามกอสาหร่ายลอยน้ำ เพื่อให้ปลาพยาบาลช่วยตอดกินพยาธิ รวมทั้งมันชอบที่จะพลิกตัวลอยด้านข้างเพื่อให้พวกนกมากจิกกินปาราสิต ซึ่งการที่ัีมันชอบลอยตัวอาบแดดที่ผิวน้ำ จึงทำให้พวกเราเรียกมันว่า ปลาซันฟิช
แม้ว่ามันจะอยู่ใกล้ผิวน้ำค่อนข้างบ่อย แต่ก็พบว่ามันสามารถลงไปที่ความลึกกว่า 400 เมตรก็มี และที่แปลกก็คือ มันสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำ สูงเป็นสิบฟุตเชียว มันเป็นปลาที่ีหากินลำพังว่ายน้ำไปเรื่อยๆ แต่บางครั้งจะพบพวกมัน อยู่รวมกันเป็นฝูงนับสิบตัวในบางท้องถิ่น
อาหารของปลาโมลา โมล่า ก็คือพวกกุ้ง ปลาหมึก และปลาขนาดเล็ก นอกจากนี้ มันยังชอบกินแมงกะพรุนเป็นหลักอีกด้วย มันเป็นปลาที่ไม่นิยมเอามาบริโภค เนื่องจากเนื้อที่เหนียว ไม่อร่อย ที่สำคัญที่สุดก็คือมีรายงานว่าเนื้อของมันมีพิษ เช่นเดียวกับ ปลาปักเป้า
พฤติกรรมการกินอาหารของมันก็ไม่เหมือนใคร ด้วยเหตุที่ปากของมันค่อนข้างเล็ก มันจะใช้ปากกัดเหยื่อให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วพ่นออกมาก่อนที่จะดูดเข้าปากไปใหม่ มันสามารถอมน้ำแล้วพ่นออกมาอย่างแรงแบบเครื่องยนต์เจ็ท เพื่อเปลี่ยนทิศทางว่ายน้ำ และใช้วิธีเดียวกันพ่นน้ำลงบนพื้นทราย เพื่อหาอาหารจำพวกสัตว์มีเปลือก ที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นทราย
เป็นปลาที่น่้าสนใจ และศึกษาพฤติกรรมของมันเป็นอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ไม่มีในบ้านเราอย่างแน่นอนเนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกระแสน้ำเย็น มันชอบอาศัยอยู่ในบริเวณ รอยต่อของน้ำอุ่นและน้ำเย็น เพื่อที่เวลาหาอาหารมันสามารถที่จะเข้ามาหาอาหารในบริเวณน้ำอุ่นได้ และก็กลับไปใช้ชีวิตในแถบน้ำเย็นได้ ถ้าเราต้องการที่เจอปลาชนิดนี้ก็คงต้องไปดำน้ำกันแถวบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย หรือประเทศพิลิปปินส์
ปลาพระอาทิตย์มีวิวัฒนาการแสนแปลก ครีบต่างๆของมันลดรูป เหลือเพียงครีบหลังและครีบก้นที่มีขนาดใหญ่มาก ใช้โบกแบบพลิกไปมา ช่วยให้ตัวเองว่ายไปข้างหน้าได้ ปรกติจะอยู่กลางน้ำหรือใกล้ผิวน้ำ ตัวใหญ่จริงๆน้ำหนักเป็นตันก็มี แต่ที่มีตัวอย่างในเมืองไทย ขนาดเท่าฝาโอ่ง ถือเป็นโมล่ารุ่นกระเตาะ
โมล่าอาศัยในมหาสมุทรเกือบทั่วโลก ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โอกาสเข้าใกล้แนวปะการังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเจอแบบบังเอิญกลางทะเล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)