วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ํYoghurT

***โยเกิร์ตเป็นคำผสมของชนเผ่าทราเซียน ระหว่าง คำว่า "yog" แปลว่า หนาหรือข้น และ “urt” แปลว่า น้ำนม รวมกันเป็น "yoghurt”

โดยจะเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุงที่ทำจากหนังแกะ เมื่อออกเดินทางไปที่ไหนก็เอาถุงคาดเอวไว้และขณะที่โดนกับความร้อนของร่างกายทำให้จุลินทรีย์ในน้ำนม เกิดการหมักและเปลี่ยนน้ำนมเป็นโยเกิร์ต...

ทั้งนี้ในยุคโบราณราวศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล ชาวทราเซียนมีวิธีการเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุงที่ทำจากหนังแกะ เวลาไปไหนต่อไหนก็เอาถุงนี้คาดเอวไว้ ความอบอุ่นจากร่างกายร่วมกับจุลชีพที่มีอยู่ในหนังแกะ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการหมักขึ้น น้ำนมในถุงก็กลายสภาพเป็นโยเกิร์ตไป

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า สิ่งที่มีมาก่อนโยเกิร์ต น่าจะเป็นน้ำนมหมักที่ใช้ดื่ม เรียกว่า คูมิส (Kumis)น้ำนมชนิดนี้ทำมาจากน้ำนมม้า ที่อาจมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่าเรร่อนที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากทวีปเอเชียมายังคาบสมุทรมัลข่าน ในปี ค.ศ.681 แม้ว่าโยเกิร์ตจะถือกำเนิดในบัลแกเรียมานานแต่ในยุโรปตะวันตกปรากฏบันทึกเกี่ยวกับโยเกิร์ตของศาสตราจารย์คริสโต โชมาคอฟรายงานไว้ในหนังสือ Bulgarian Yoghurt-Health and Longerity ที่ระบุว่าในศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์ฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ทรงประชวรมีพระอาการปั่นป่วนในท้อง แพทย์ชาวตุรกีผู้หนึ่งจึงทำการรักษาโดยให้เสวยโยเกิร์ตที่นำมาจากบัลแกเรีย 

นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต - yoghurt (ภาษาอังกฤษใช้คำนี้เรียกรวม ๆ ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ

มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. เป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม
2. เป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเหลวข้นที่เรียกว่า โยเกิร์ต

แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยวโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 3.8-4.6 วิธีการทำโยเกิร์ตในสมัยโบราณ จากบันทึกหลายๆแห่งเขียนตรงกันว่าโยเกิร์ตเป็นอาหารที่รวมอยู่ในโภชนาการของชนเผ่าทราเซียน อันเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลแกเรีย โดยชาวทราเซียนนี้ทำมาหากินด้วยการประกอบอาชีพเลี้ยงแกะ

*เวลาท้องเสียเป็นเพราะมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในลำไส้ แต่เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดเลวทั้งหลาย การกินโยเกิร์ตจึงทำให้อาการท้องเสียทุเลาอย่างรวดเร็ว ทำให้ถ่ายน้อยลงหรือหยุดถ่าย
*โยเกิร์ตมีไขมันชื่อคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
*โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วย เป็นแหล่งรวมของสารอาหารถึง 11 ชนิด และแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างไอโอดีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 โปรตีน วิตามินบี 12 ทริปโทฟาน โพแทสเซียม โมลิปเดนัม สังกะสี และวิตามินบี 5
*โยเกิร์ตให้โปรตีนและแคลเซียมสูงกว่านมธรรมดา เพราะลำไส้ย่อยนมไม่ได้ แต่สำหรับโยเกิร์ตสามารถทำได้ เพราะในโยเกิร์ตมีกรดแลกติกที่จะช่วยย่อยแคลเซียมให้เล็กลง ทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้
*จุลินทรีย์ทั่วไปอาจทำร้ายร่างกาย แต่แลคโตบาสิลัสในโยเกิร์ตเป็นจุลินทรีย์ชนิดดี ที่ร่างกายต้องการเพราะจะไปหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ "เฮลิโคแบคเตอร์ เอชไพโลไร" ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ ลดการอักเสบของลำไส้และไขข้อ แถมยังทำตัวเป็นนักปราบปรามจุลินทรีย์ที่จะทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วงที่มีรอบเดือนผู้หญิงจึงควรทานโยเกิร์ตเป็นประจำ
*แคลเซียมสูงที่ได้จากโยเกิร์ตจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ความดันสูง มะเร็งลำไส้ และยังกระตุ้นระบบเผาผลาญทำให้ผอมเองโดยไม่ต้องเหนื่อย
*ทำให้ปากสะอาด กำจัดกลิ่นปากและโรคเหงือก
*เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย เพราะแบคทีเรียในโยเกิร์ตทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินเคและบีในลำไส้ได้ดีขึ้น

***ปิดท้ายด้วยการให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้อ่านสักนิดว่า 
โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว ก่อนจะมีการพัฒนารสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคเรื่อยมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น