วิกฤตโลก? วันที่ขั้วโลกเหนือ..ไม่เหลือน้ำแข็ง (ข่าวสด)
อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนโยธี บรรดาผู้สนใจเรื่องของ "วิกฤตโลก" ไป รวมตัวกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นงานเสวนาเรื่อง "วิกฤตโลก เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง" โดยมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากร
พิธีกร ในการเสวนาเริ่มต้นบรรยากาศด้วยเหตุการณ์ข่าว "ทากทะเล" ที่ขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่จังหวัดชุมพร และสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการเปลี่ยน แปลงกระแสน้ำวนของน้ำทะเล จากนั้นโยนคำถามให้อาจารย์อานนท์ ร่ายยาว
ปัจจุบัน ดร.อานนท์เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอธิบาย ว่าเคยไปเห็นหนอนทะเลที่หาดบางแสน เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง ซึ่งมันอยู่ดีๆ ก็มาก็เกิดขึ้น แล้วมีคนพูดเกี่ยวกับกระแสน้ำ หรือสัตว์พวกนี้ว่าเป็นสัตว์หน้าดิน เดินได้เอง ไม่ต้องให้กระแสน้ำพามา เพราะไม่ใช่เป็นแพลงตอน ฉะนั้น การที่มันมารวมกันที่ใดที่หนึ่ง ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วน่าจะเป็นอยู่ในส่วนของการสืบพันธุ์
"เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความรู้ทางด้านชีววิทยาก็มีไม่ค่อยมาก" เสียงอาจารย์ออกตัวก่อนบรรยายต่อ ว่ามีสัตว์ทะเลหลายชนิดเวลาสืบพันธุ์จะต้องมาอยู่ด้วยกัน เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่าสัตว์ขึ้นมาสืบพันธุ์เสร็จ มันก็จะตาย พอตายมันเดินไม่ได้ถูกคลื่นซัดขึ้นมา เป็นเรื่องปกติ
โดยปกติสัตว์ทะเลจะสืบพันธุ์ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง
"ผม เคยเห็นพวกปลาหมึกหรือหนอนทะเลหลายชนิด มีวงรอบการสืบพันธุ์ของมันตรงกับภาพของพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่น่าใช่เรื่องกระแสน้ำที่ปกติในช่วงเวลาวันใดวันหนึ่ง" อาจารย์อานนท์กล่าว
เมื่อถามถึงเรื่องของ "วิกฤตโลก ในวันที่ขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง"
ดร.อานนท์ กล่าวว่า ประเด็นนี้มีที่มาที่ไป โดย มีองค์กรเอกชนทางด้านวิชาการ ได้แถลงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่าได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ได้ข้อมูลนี้มา อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก "กองทุนสัตว์ป่าโลก" ด้วย
"ที่ จริงแล้วเขาบอกว่าอีก 20 ปีถึงจะไม่มีน้ำแข็ง และฤดูร้อนก็หายไปอย่างสิ้นเชิง ผมว่าจะเริ่มเห็น ได้เป็นบางปี ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีข้างหน้า แต่พอข่าวส่งบอกกันปากต่อปากมาเรื่อยๆ 10 ปี จะไม่มีน้ำแข็งแล้ว แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเป็นข้อมูลทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ว่ากันแล้วมีการติดตามมาเป็นระยะยาว หลายประเทศค่อนข้างเป็นห่วง"
จาก นั้น ดร.อานนท์ให้ดูภาพของน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มองจากขั้วโลกเหนือลงมาเป็นจุดอยู่ตรงกลางเล็กๆ ขั้วโลกเหนือไม่มีแผ่นดิน อยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน พร้อมอธิบายว่า จะเห็นว่าตอนนี้น้ำแข็งโตขึ้นมาเต็มเหลือส่วนอีกเล็กน้อยที่ยังไม่เต็ม ในขณะที่น้อยที่สุดในปีนี้อยู่ที่วันที่ 16 กันยายน 2552 จะเห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่เฉพาะส่วนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ด้านบน
"ปกติ ฤดูร้อนในอดีตน้ำแข็งจะหดลงมาเล็กน้อย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งฤดูร้อนมันหายไปจริง ตอนนี้เหลือประมาณ เมื่อเทียบกับของมหาสมุทรอาร์กติกทั้งหมดอยู่ที่ประมาณแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรอาร์กติกเท่านั้นเอง เมื่อก่อนมันร้อนจะลงมาอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของมหาสมุทรอาร์กติก ตอนนี้ลงมาที่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ มันหายไปมาก"
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งทำให้มันยิ่งร้อนได้นานขึ้นกว่าเดิม เสียงบอกถึงสาเหตุจาก ดร.อานนท์
"ปลาย ฤดูตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปถึงธันวาคม 2551 น้ำแข็งจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโล เมตร ในอดีตฤดูร้อนจะหดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ในปัจจุบันปี 2552 หดลงมาเหลือ 5 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่ใช่น้อยที่สุด เพราะในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่น้ำแข็งหายไปมากที่สุด หดลงเหลือแค่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร"
เสียง ดร.อานนท์กล่าวต่อไปอีก ว่า ณ วันนี้แค่ประมาณเดือนเศษๆ น้ำแข็งเพิ่มขึ้น 5-8 ล้านตารางกิโลเมตร เพราะน้ำแข็งพอเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวมันเกิดเร็ว เพราะว่ามันเย็นมาก และน้ำแข็งมันเกิดจากการเย็นตัวของน้ำทะเลโดยตรง เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับเอาน้ำใส่แก้วไปใส่ในตู้ฟรีซเซอร์ มันก็จะเริ่มแข็ง แต่ไม่มีผลอะไรกับระดับน้ำทะเลมาก เพราะไม่ได้เติมน้ำจากด้านนอกเข้ามา
"แต่ ที่น่าสนใจ คือเราดูจากแนวโน้ม ปี 2552 ปีเดียวคงไม่ได้บอกอะไร และสิ่งที่อยากดูตอนนี้คืออายุเฉลี่ยของน้ำแข็ง ในอดีตอายุของน้ำแข็งจะนาน พวกที่มีอายุเก่ากว่า 2 ปี เป็นน้ำแข็งที่อยู่ถาวร แต่ในปัจจุบันส่วนที่เป็นสีเขียวเหลือน้อยมาก แสดงว่าน้ำแข็งเดี๋ยวนี้มันวูบวาบมาก หน้าร้อนก็หายไปมาก หน้าหนาวคืนกลับขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันทำให้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แกว่งมาก ระบบนิเวศอะไรต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องมีการปรับให้รับกับสภาพแบบ ใหม่ๆ นี้ให้ดีขึ้น"
เพราะฉะนั้น ปี 2552 นี้ น้ำแข็งไม่ได้ละลายมากเหมือนปี 2550
แต่ ที่น่ากังวล คือเรื่องของชั้นน้ำแข็งถาวรในเขตทุนดรา หรือทุ่งหิมะแถบขั้วโลก ชายฝั่งบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นเขตทุนดรา คือเขตที่มีต้นมอสมีหญ้าขึ้นบ้างนิดหน่อย ไม่มีต้นไม้ใหญ่ บริเวณชั้นตรงนี้ในฤดูร้อนจะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่พอฤดูหนาวจะมีน้ำแข็งคลุม พอฤดูร้อนชั้นที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปมันมีชั้นน้ำแข็งถาวร แต่ระยะหลังบริเวณนี้ขุดลงไปประมาณ 1 เมตรจะเป็นน้ำแข็ง ส่วนด้านบนจะเป็นดิน ชั้นน้ำแข็งสิ่งที่สำคัญคือมันทำหน้าที่เหมือนกับเป็นตัวล็อคก๊าซมีเทนที่ อยู่ใต้ดิน ก๊าซมีเทนอยู่มานานเป็นร้อยเป็นพันปี การเกิดมีเทนมันมีน้ำแข็งคลุมเอาไว้ไม่แพร่ ขึ้นมาด้านบน พอไม่แพร่ก็สะสมอยู่ด้านล่างเรื่อยๆ หากมหาสมุทรอาร์กติกร้อนขึ้นๆ โดยเฉพาะฤดูร้อน ชั้นน้ำแข็งถาวรตรงนี้อาจจะละลายหายไป ฉะนั้น ความสามารถในการเก็บมีเทนไว้จะน้อยลง
...มัน อาจจะถึงจุดหนึ่งมีเทนจำนวนมหาศาล จำนวนเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยประมาณ 20 ปี แต่ถ้ามันพรวดออกมาในปีเดียวจะทำเหมือนกับว่าเราต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ถึงเรือนกระจกถึง 20 ปี ก๊าซมีเทนจำนวนเท่าๆ กันกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันทำให้โลกร้อนมากกว่า ประมาณ 21 เท่า เพราะว่าการเก็บความร้อนของก๊าซมีเทนดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ฉะนั้น มีเทนถึงแม้จะปล่อยออกมาปริมาณน้อยก็สามารถทำให้โลกร้อนได้รุนแรงมากกว่า และถ้าเกิดมาจริงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลัน ซึ่งค่อนข้างน่าวิตก
ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่อง ปีประมาณ 1% โดยประมาณ ดังนั้น เราจะบอกว่ารอได้อีก 20-30 ปีถึงจะวิกฤต
ดร.อานนท์ระบุ ว่า นี่คือการคาดการณ์ในอนาคต
"ใน เขตพื้นราบของทั้งโลก ซึ่งเคยมีพื้นที่น้ำแข็งอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้มันหายไปแล้วจริง ๆ เหลือแค่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร คือหายไปแล้ว 20% ตั้งแต่หนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังปล่อยไปเรื่อยๆ โลกก็ร้อนขึ้นมาก"
ดร.อานนท์ กล่าวแบบฟันธงว่า โลกอนาคตอย่างไรมันเปลี่ยนแน่ๆ ไม่มีใครมองว่าจะกลับไปเหมือนเดิม อยู่ที่ว่าเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยแล้วเราปรับตัวกับมันได้ทันหรือไม่
การ เสวนาขยายความต่อไป ว่ามีคนสนใจมาก ถ้าแถบมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งอยู่ใกล้กับแคนาดา อลาสกา รัสเซีย หากแถบนั้นอุ่นขึ้นต้นไม้ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เขตทุนดราที่มีอยู่โดยรอบจะหายไป ในอนาคตอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ชั้นน้ำแข็งถาวร (permafrost) จะเหลืออยู่แค่นิดหน่อยเท่านั้น
ส่วน ในเรื่องของระบบนิเวศ มีคนพูดถึง "หมีขาว" เพราะหมีขาวอาศัยอยู่บนน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งเล็กลงไป หมีขาวคงจะเดือดร้อน โอกาสที่หมีขาวจะสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง ยังไม่ใช่ แต่จำนวนประชากรคงลดลง ไปมาก
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณตรงนั้นเป็นป่ามากขึ้น ทำให้มนุษย์รุกตามขึ้นไป อาจไปรบกวนระบบนิเวศของมัน
"การ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่ใช่ด้วยลำพังของตัวมันเอง แต่มีเรื่องอื่นเชื่อมโยงกันมากมาย ฉะนั้น ต้องมองในภาพรวม ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น"
อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนโยธี บรรดาผู้สนใจเรื่องของ "วิกฤตโลก" ไป รวมตัวกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นงานเสวนาเรื่อง "วิกฤตโลก เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง" โดยมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากร
พิธีกร ในการเสวนาเริ่มต้นบรรยากาศด้วยเหตุการณ์ข่าว "ทากทะเล" ที่ขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่จังหวัดชุมพร และสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการเปลี่ยน แปลงกระแสน้ำวนของน้ำทะเล จากนั้นโยนคำถามให้อาจารย์อานนท์ ร่ายยาว
ปัจจุบัน ดร.อานนท์เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอธิบาย ว่าเคยไปเห็นหนอนทะเลที่หาดบางแสน เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง ซึ่งมันอยู่ดีๆ ก็มาก็เกิดขึ้น แล้วมีคนพูดเกี่ยวกับกระแสน้ำ หรือสัตว์พวกนี้ว่าเป็นสัตว์หน้าดิน เดินได้เอง ไม่ต้องให้กระแสน้ำพามา เพราะไม่ใช่เป็นแพลงตอน ฉะนั้น การที่มันมารวมกันที่ใดที่หนึ่ง ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วน่าจะเป็นอยู่ในส่วนของการสืบพันธุ์
"เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความรู้ทางด้านชีววิทยาก็มีไม่ค่อยมาก" เสียงอาจารย์ออกตัวก่อนบรรยายต่อ ว่ามีสัตว์ทะเลหลายชนิดเวลาสืบพันธุ์จะต้องมาอยู่ด้วยกัน เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่าสัตว์ขึ้นมาสืบพันธุ์เสร็จ มันก็จะตาย พอตายมันเดินไม่ได้ถูกคลื่นซัดขึ้นมา เป็นเรื่องปกติ
โดยปกติสัตว์ทะเลจะสืบพันธุ์ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง
"ผม เคยเห็นพวกปลาหมึกหรือหนอนทะเลหลายชนิด มีวงรอบการสืบพันธุ์ของมันตรงกับภาพของพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่น่าใช่เรื่องกระแสน้ำที่ปกติในช่วงเวลาวันใดวันหนึ่ง" อาจารย์อานนท์กล่าว
เมื่อถามถึงเรื่องของ "วิกฤตโลก ในวันที่ขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง"
ดร.อานนท์ กล่าวว่า ประเด็นนี้มีที่มาที่ไป โดย มีองค์กรเอกชนทางด้านวิชาการ ได้แถลงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่าได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ได้ข้อมูลนี้มา อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก "กองทุนสัตว์ป่าโลก" ด้วย
"ที่ จริงแล้วเขาบอกว่าอีก 20 ปีถึงจะไม่มีน้ำแข็ง และฤดูร้อนก็หายไปอย่างสิ้นเชิง ผมว่าจะเริ่มเห็น ได้เป็นบางปี ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีข้างหน้า แต่พอข่าวส่งบอกกันปากต่อปากมาเรื่อยๆ 10 ปี จะไม่มีน้ำแข็งแล้ว แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเป็นข้อมูลทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ว่ากันแล้วมีการติดตามมาเป็นระยะยาว หลายประเทศค่อนข้างเป็นห่วง"
จาก นั้น ดร.อานนท์ให้ดูภาพของน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มองจากขั้วโลกเหนือลงมาเป็นจุดอยู่ตรงกลางเล็กๆ ขั้วโลกเหนือไม่มีแผ่นดิน อยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน พร้อมอธิบายว่า จะเห็นว่าตอนนี้น้ำแข็งโตขึ้นมาเต็มเหลือส่วนอีกเล็กน้อยที่ยังไม่เต็ม ในขณะที่น้อยที่สุดในปีนี้อยู่ที่วันที่ 16 กันยายน 2552 จะเห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่เฉพาะส่วนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ด้านบน
"ปกติ ฤดูร้อนในอดีตน้ำแข็งจะหดลงมาเล็กน้อย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งฤดูร้อนมันหายไปจริง ตอนนี้เหลือประมาณ เมื่อเทียบกับของมหาสมุทรอาร์กติกทั้งหมดอยู่ที่ประมาณแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรอาร์กติกเท่านั้นเอง เมื่อก่อนมันร้อนจะลงมาอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของมหาสมุทรอาร์กติก ตอนนี้ลงมาที่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ มันหายไปมาก"
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งทำให้มันยิ่งร้อนได้นานขึ้นกว่าเดิม เสียงบอกถึงสาเหตุจาก ดร.อานนท์
"ปลาย ฤดูตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปถึงธันวาคม 2551 น้ำแข็งจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโล เมตร ในอดีตฤดูร้อนจะหดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ในปัจจุบันปี 2552 หดลงมาเหลือ 5 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่ใช่น้อยที่สุด เพราะในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่น้ำแข็งหายไปมากที่สุด หดลงเหลือแค่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร"
เสียง ดร.อานนท์กล่าวต่อไปอีก ว่า ณ วันนี้แค่ประมาณเดือนเศษๆ น้ำแข็งเพิ่มขึ้น 5-8 ล้านตารางกิโลเมตร เพราะน้ำแข็งพอเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวมันเกิดเร็ว เพราะว่ามันเย็นมาก และน้ำแข็งมันเกิดจากการเย็นตัวของน้ำทะเลโดยตรง เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับเอาน้ำใส่แก้วไปใส่ในตู้ฟรีซเซอร์ มันก็จะเริ่มแข็ง แต่ไม่มีผลอะไรกับระดับน้ำทะเลมาก เพราะไม่ได้เติมน้ำจากด้านนอกเข้ามา
"แต่ ที่น่าสนใจ คือเราดูจากแนวโน้ม ปี 2552 ปีเดียวคงไม่ได้บอกอะไร และสิ่งที่อยากดูตอนนี้คืออายุเฉลี่ยของน้ำแข็ง ในอดีตอายุของน้ำแข็งจะนาน พวกที่มีอายุเก่ากว่า 2 ปี เป็นน้ำแข็งที่อยู่ถาวร แต่ในปัจจุบันส่วนที่เป็นสีเขียวเหลือน้อยมาก แสดงว่าน้ำแข็งเดี๋ยวนี้มันวูบวาบมาก หน้าร้อนก็หายไปมาก หน้าหนาวคืนกลับขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันทำให้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แกว่งมาก ระบบนิเวศอะไรต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องมีการปรับให้รับกับสภาพแบบ ใหม่ๆ นี้ให้ดีขึ้น"
เพราะฉะนั้น ปี 2552 นี้ น้ำแข็งไม่ได้ละลายมากเหมือนปี 2550
แต่ ที่น่ากังวล คือเรื่องของชั้นน้ำแข็งถาวรในเขตทุนดรา หรือทุ่งหิมะแถบขั้วโลก ชายฝั่งบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นเขตทุนดรา คือเขตที่มีต้นมอสมีหญ้าขึ้นบ้างนิดหน่อย ไม่มีต้นไม้ใหญ่ บริเวณชั้นตรงนี้ในฤดูร้อนจะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่พอฤดูหนาวจะมีน้ำแข็งคลุม พอฤดูร้อนชั้นที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปมันมีชั้นน้ำแข็งถาวร แต่ระยะหลังบริเวณนี้ขุดลงไปประมาณ 1 เมตรจะเป็นน้ำแข็ง ส่วนด้านบนจะเป็นดิน ชั้นน้ำแข็งสิ่งที่สำคัญคือมันทำหน้าที่เหมือนกับเป็นตัวล็อคก๊าซมีเทนที่ อยู่ใต้ดิน ก๊าซมีเทนอยู่มานานเป็นร้อยเป็นพันปี การเกิดมีเทนมันมีน้ำแข็งคลุมเอาไว้ไม่แพร่ ขึ้นมาด้านบน พอไม่แพร่ก็สะสมอยู่ด้านล่างเรื่อยๆ หากมหาสมุทรอาร์กติกร้อนขึ้นๆ โดยเฉพาะฤดูร้อน ชั้นน้ำแข็งถาวรตรงนี้อาจจะละลายหายไป ฉะนั้น ความสามารถในการเก็บมีเทนไว้จะน้อยลง
...มัน อาจจะถึงจุดหนึ่งมีเทนจำนวนมหาศาล จำนวนเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยประมาณ 20 ปี แต่ถ้ามันพรวดออกมาในปีเดียวจะทำเหมือนกับว่าเราต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ถึงเรือนกระจกถึง 20 ปี ก๊าซมีเทนจำนวนเท่าๆ กันกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันทำให้โลกร้อนมากกว่า ประมาณ 21 เท่า เพราะว่าการเก็บความร้อนของก๊าซมีเทนดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ฉะนั้น มีเทนถึงแม้จะปล่อยออกมาปริมาณน้อยก็สามารถทำให้โลกร้อนได้รุนแรงมากกว่า และถ้าเกิดมาจริงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลัน ซึ่งค่อนข้างน่าวิตก
ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่อง ปีประมาณ 1% โดยประมาณ ดังนั้น เราจะบอกว่ารอได้อีก 20-30 ปีถึงจะวิกฤต
ดร.อานนท์ระบุ ว่า นี่คือการคาดการณ์ในอนาคต
"ใน เขตพื้นราบของทั้งโลก ซึ่งเคยมีพื้นที่น้ำแข็งอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้มันหายไปแล้วจริง ๆ เหลือแค่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร คือหายไปแล้ว 20% ตั้งแต่หนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังปล่อยไปเรื่อยๆ โลกก็ร้อนขึ้นมาก"
ดร.อานนท์ กล่าวแบบฟันธงว่า โลกอนาคตอย่างไรมันเปลี่ยนแน่ๆ ไม่มีใครมองว่าจะกลับไปเหมือนเดิม อยู่ที่ว่าเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยแล้วเราปรับตัวกับมันได้ทันหรือไม่
การ เสวนาขยายความต่อไป ว่ามีคนสนใจมาก ถ้าแถบมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งอยู่ใกล้กับแคนาดา อลาสกา รัสเซีย หากแถบนั้นอุ่นขึ้นต้นไม้ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เขตทุนดราที่มีอยู่โดยรอบจะหายไป ในอนาคตอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ชั้นน้ำแข็งถาวร (permafrost) จะเหลืออยู่แค่นิดหน่อยเท่านั้น
ส่วน ในเรื่องของระบบนิเวศ มีคนพูดถึง "หมีขาว" เพราะหมีขาวอาศัยอยู่บนน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งเล็กลงไป หมีขาวคงจะเดือดร้อน โอกาสที่หมีขาวจะสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง ยังไม่ใช่ แต่จำนวนประชากรคงลดลง ไปมาก
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณตรงนั้นเป็นป่ามากขึ้น ทำให้มนุษย์รุกตามขึ้นไป อาจไปรบกวนระบบนิเวศของมัน
"การ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่ใช่ด้วยลำพังของตัวมันเอง แต่มีเรื่องอื่นเชื่อมโยงกันมากมาย ฉะนั้น ต้องมองในภาพรวม ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น