วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

8 สุดยอดอาหารเพื่อหัวใจแข็งแรง (Top 8 Heart-Healthy Foods)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน



ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น เราจึงมีอาหารที่ดีต่อหัวใจมาแนะนำค่ะ

1. ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากมาย ที่มีประโยชน์โดยตรงในการช่วยลดคอเลสเตอรอล และลดความดันโลหิต

2. ใยอาหาร การรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้นอย่างน้อยวันละ 25-35 กรัม เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ถั่ว และผักต่างๆ

3. น้ำผลไม้คั้นสด เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำส้มคั้นสดสักแก้วสิคะ เพราะน้ำส้มคั้นอุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่ช่วยลดระดับฮอโมซิสเตอิน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบว่าสัมพันธ์กับอาการหัวใจวาย หรือลองน้ำองุ่นที่มีฟลาโวนอยด์และเรสเวอราทรอล (resveratrol) สารสำคัญจากเปลือกองุ่น ที่ช่วยยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงจับเป็นก้อน ซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน

4. ผักตระกูลกะหล่ำ แต่ละมื้อกินผักให้มากขึ้น โดยเน้นผักประเภทกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ และกะหล่ำปลี เพราะมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ดีต่อหัวใจ

5. ถั่วเปลือกแข็ง การศึกษาจากหลายแห่งรายงานว่าการรับประทานถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ พิสตาชิโอ วอลนัท ฮาเซลนัท สัปดาห์ละมากกว่า 150 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ หรือโรคหัวใจวายได้ 1 ใน 3 เท่า

6. ถั่วเหลือง การรับประทานถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

7. กระเทียม การรับประทานกระเทียมช่วยยับยั้งการจับตัวกันของเม็ดเลือดแดงที่จะไปอุดตันหลอดเลือดแดง กินวันละ 5-10 กลีบ ต่อวัน

8. กล้วย อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิตได้ ฉะนั้น นอกจากกล้วยแล้ว มันเทศหรือมันฝรั่งอบ มะเขือเทศ (ซอส) โยเกิร์ต และแคนตาลูป

นอกจากรับประทานอาหารสุขภาพเหล่านี้แล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่เครียดก็ช่วยป้องกันหัวใจป่วยได้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

พาราเซลซัส

พาราเซลซัส Paracelus (ค.ศ. 1493-1541)



เป็นผู้หนึ่งที่เปลี่ยนทิศทางการแพทย์สมัยใหม่ เดิมทีเขามีชื่อว่า

"ทรีโอฟราสตุส บอมบาสตุส วอน โฮเฮนเฮม" (Theophrastus Bombastus

von Hohenheim) ภายหลังได้เปลื่ยนชื่อ, เขาเป็นชาวสวิส นายแพทย์ และ

ยังเป็นนักเคมีอีกด้วย เขารู้ว่าการที่พืชสมุนไพรสามารถใช้รักษาโรคอาการ

เจ็บป่วยได้นั้น เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในต้นไม้นั้นเอง เขาเป็นผู้นำในการสกัด

สารส่วนสำคัญของสมุนไพรในรูปแบบที่เราเรียกว่า ทิงเจอร์ นับเป็นการปฏิวัติ

เภสัชกรรมในสมัยนั้น พาราเซลซัส ศึกษาสนใจทางพฤษศาสตร์, แร่ธาตุ

ปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติด้วย เขาเดินทางท่องเที่ยวไปทั่ว เขาถูกให้ออกจาก

มหาวิทยาลัยในบาเซล เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่ว่าด้วย การวิจัยและค้นคว้าทาง

เภสัชเวท ที่ชื่อว่า " On the Virtues of Plants,Roots and Seeds"

ที่นำเสนอทั้งการทดลองส่วนตัวของเขาและการทดลองในห้องแล็ป

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

กล้วยไม้คล้ายหน้าลิง ??


เมื่อ เวลา 10.30 น. วันที่ 13 ก.ย. บริเวณสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.พิมพา ไชยยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ พืชสวนโลก ได้นำกล้วยไม้  ซึ่งมีหน้าตาคล้ายลิงและรูปสัตว์ต่าง ๆ มาโชว์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกล้วยไม้หลายชนิดที่จะนำมาจัดแสดงที่ออร์คิดพาวิลเลี่ยน ภายในงานมหกรรมพืชสวนโลกฯระหว่างวันที่ 9 พ.ย. 54 ถึง 15 ก.พ. 55 รวมระยะเวลาการจัดงาน 99 วัน ทั้งนี้กล้วยไม้ที่นำออกมาโชว์มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งชื่อทางวิทยา ศาสตร์คือกล้วยไม้แดร๊กคูล่า ซึ่งดอกกล้วยไม้สกุลนี้มีสีสัน รูปร่างที่มีความแปลกประหลาด น่ารัก น่าชัง คล้ายหน้าลิง หรือคล้ายหน้าปิศาจ มีทั้งหมด 123 ชนิดเป็นกล้วยไม้ท้องถิ่นแถบประเทศโคลอมเบีย เอกวาดอร์ คอสตาริกา อยู่ในระดับความสูง 1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชอบอากาศอบอุ่นและเย็น มีความชื้นสูง สามารถปลูกเลี้ยงได้ดี และเป็นที่นิยมในหมู่นักเล่นกล้วยไม้ทั่วโลกเป็นอย่างมาก.

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ผงฟูทำขนมปังต่างจากเบคกิ้งโซดาอย่างไร??

ผงฟูทำขนมปัง (Baking powder) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผนึกเกลือ กรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และ citrate ส่วนกรดเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นกรดอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ baking powder ในปัจจุบันเรียกว่า double acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง กรดเกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า baking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ

ผงฟู (Baking Powder) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในลูกองุ่น) , โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate, กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ (ผงฟูมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2)

เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) ฤทธิ์เป็นด่าง จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรดอาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว

ผงฟู และเบคกิ้งโซดา ล้วนแต่เป็นสารที่ช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ส่วนมากจะใช้ในโอกาสแตกต่างกัน เบคกิ้งโซดา มักจะใช้ในขนมที่มี โกโก้ หรือ กาแฟ เป็นส่วนผสม เพราะว่าโกโก้ และ กาแฟ มีค่าเป็นด่าง ซึ่งเบคกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม เบคกิ้งโซดาจะมีจุดเสียตรงที่ว่า ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ขนมมีรสเฝื่อน แต่ก็จะมีการแก้ไขได้โดยการผสมกรดลงไปในสูตรขนม เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว ผงฟู มักจะใช้ในการทำขนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะผงฟูจะช่วนให้ขนมขึ้นฟู แต่ในอัตราที่พอควร ไม่มากเท่าโซดา ส่วนเรื่องการใช้แทนกัน ผงฟูใช้แทน เบคกิ้งโซดา ได้ แต่ เบคกิ้งโซดา ใช้แทน ผงฟูไม่ได้

การใช้งาน

ผงฟู สามารถพบในขนมปังจำพวก แพนเค้ก วาฟเฟิล และมัฟฟิน โดยทั่วไป baking powder 1 ช้อนชาสามารถทำให้ส่วนขึ้นฟูโดยใช้แป้ง 1 ถ้วยตวง ของเหลว 1 ถ้วยตวง และไข่ไก่ 1 ฟอง อย่างไรก็ตามถ้าส่วนผสมมีฤทธิ์เป็นกรดแล้วการเติม baking powder มากเกินไปจะดูเป็นการฟุ่มเฟือยและทำให้เสียรสชาติได้ ส่วนผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงได้แก่ buttermilk น้ำมะนาว โยเกิร์ต หรือ น้ำผึ้ง
ผงฟู และเบคกิ้งโซดา ล้วนแต่เป็นสารที่ช่วยให้ขนมขึ้นฟู แต่ส่วนมากจะใช้ในโอกาสแตกต่างกัน เบคกิ้งโซดา มักจะใช้ในขนมที่มี โกโก้ หรือ กาแฟ เป็นส่วนผสม เพราะว่าโกโก้ และ กาแฟ มีค่าเป็นด่าง ซึ่งเบคกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี อย่างไรก็ตาม เบคกิ้งโซดาจะมีจุดเสียตรงที่ว่า ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ขนมมีรสเฝื่อน แต่ก็จะมีการแก้ไขได้โดยการผสมกรดลงไปในสูตรขนม เช่น โยเกิร์ต หรือ นมเปรี้ยว ผงฟู มักจะใช้ในการทำขนมเป็นส่วนใหญ่ เพราะผงฟูจะช่วนให้ขนมขึ้นฟู แต่ในอัตราที่พอควร ไม่มากเท่าโซดา ส่วนเรื่องการใช้แทนกัน ผงฟูใช้แทน เบคกิ้งโซดา ได้ แต่ เบคกิ้งโซดา ใช้แทน ผงฟูไม่ได้

ชนิดของผงฟู (Baking Powder)

ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ