วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สงครามครูเสด

          สงครามครูเสด (อังกฤษ: The Crusades; อาหรับ: الحروب الصليبية ; อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ/ หรือ الحملات الصليبية /อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ‎ แปลว่า สงครามไม้กางเขน) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13

สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์จากยุโรป และ ชาวมุสลิม เนื่องจากชาวคริสต์ต้องการยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ และ เมืองคอนสแตนติโนเปิลหรือเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นของอาณาจักรโรมอยู่ก่อนแล้วที่กองทัพอิสลามจะเข้ามาที่นี้

ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมได้เข้าปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ เนื่องมาจากโซยุเตริก(น่าจะชื่อคอลีฟหะหุในภาษาอิสลาม) ผู้นำโลกอิสลามได้เข้ายึดครองดินแดนแห่งนี้ ซึ่งเป็นยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามที่เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล

ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมืองโดยเฉพาะการครอบครองเยรูซาเร็มที่เชื่อกันว่าศูนย์กลางของโลกใบนี้ ซึ่งเยรูซาเร็มเมื่อดูในแผ่นที่โลกจะอยู่ใจกลางโลกพอดี และเยรูซาเร็มนี้ได้ชื่อว่าพระเจ้าได้มอบที่นี้ไว้ให้มนุษย์ได้พบพระองค์(ถูกบันทึกในคำภีร์ทางศาสนาของยิว คริสต์ และอิสลาม) ที่พระเจ้าให้กษัตริย์โซโลมอนได้สร้างมหาวิหารเพื่อนมัสการพระเจ้าอย่างยิ่งใหญ่บนแผ่นดินที่ได้เชื่อกันว่ายาโคบหรือJacob ต้นตระกูลยิวได้นอนลงที่นี้และนิมิตนั้นคือ เห็นบันไดสวรรค์และการขึ้นลงของทูตสวรรค์

ซึ่งทุกวันนี้มหาวิหารได้ถูกทำลายไปในยุคของโรมปีค.ศ70 และต่อมาอิสลามได้สร้างสุหร่าอัลซัลซอร์บนมหาวิหารเดิมของโซโลมอนหรือของชาวยิว และข้อพิพากนี้ยังหาข้อสรุปไม่ได้จนกลายเป็นปัญหาภูมิภาคตะวันออกกลาง และชาวยิวทุกวันนี้ก็พยายามทุกทางที่จะสร้างมหาวิหารนี้ได้อีกครั้งเพราะตนเองไม่มีสถานที่นมัสการเพราะที่เหลือไว้คือกำแพงด้านตะวันตกของมหาวิหาร หรือที่เรียกว่ากำแพงร้องไห้ ซึ่งชาวคริสเตียนกลุ่มโปเตสแตนท์เชื่อกันว่าถ้าหากชาวยิวจะรื้อวิหารของมุสลิมอัลซัลซอล์ และสร้างมหาวิหารได้อีกครั้ง วันนั้นเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมาเป็นครั้งที่สอง และจะเป็นวันสิ้นโลกใบนี้

สงครามครูเสดแต่ละครั้ง

มีสงครามครูเสดเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งมีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในมหาสงครามครั้งนี้และยังมีสงครามย่อยๆเกิดอีกหลายครั้งในระหว่างนั้น สงครามบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในยุโรปเอง เช่น ที่สเปน และมีสงครามย่อยๆเกิดขึ้นตลอดศตวรรษที่ 16 จนถึงยุค Renaissance และเกิด Reformation

สงครามครูเสดครั้งที่ 1 พ.ศ. 1638-1644 (ค.ศ. 1095-1101)

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ในสภาแห่งเคลียมอนท์ประกาศให้แย่งชิงแดนศักดิสิทธิ์คืนเริ่มต้นเมื่อปี 1095 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) แห่งกรุงโรม รวบรวมกองทัพชาวคริสต์ไปยังกรุงเยรูซาเลม ช่วงแรกกองทัพของปีเตอร์ นักพรต(Peter the Hermit) นำล่วงหน้ากองทัพใหญ่ไปก่อน ส่วนกองทัพหลักมีประมาณ 50,000 คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส นำโดย โรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์มังดีโอรสของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ในที่สุดเมื่อปี 1099 กองทัพก็เดินทางจากแอนติออคมาถึงกำแพงเมือง และยึดฐานที่มั่นใกล้กำแพงเข้าปิดล้อมเยรูซาเลมไว้ กองกำลังมุสลิมที่ได้รับการขนานนามว่า ซาระเซ็น ได้ต่อสู้ด้วยความเข้มแข็ง ทว่าท้ายที่สุดนักรบครูเสดก็บุกฝ่าเข้าไป และฆ่าล้างทุกคนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์กระทั่งชาวมุสลิมในเมืองหรือชาวยิวในสถานที่ทางศาสนาก็ล้วนถูกฆ่าจนหมด เหลือเพียงผู้ปกครองเดิมในขณะนั้นซึ่งได้รับอนุญาตให้ออกไปได้ แต่ทว่าข่าวการรบนั้นไม่อาจไปถึงพระสันตะปาปา เนื่องจากพระองค์สิ้นพระชนม์ในอีกไม่กี่วันถัดมา

ผู้นำเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับเลือกคือ ก็อดฟรีย์ แห่ง บูวียอง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งนานหนึ่งปีจึงเสียชีวิต เดือนกรกฎาคมปี 1100 บอลด์วินจากเอเดสซาจึงขึ้นสืบเป็นกษัตริย์ พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงอาร์เมเนีย แต่ไร้รัชทายาท พระองค์สวรรคตในปี 1118 ผู้เป็นราชนัดดานามบอลด์วินจึงครองราชย์เป็นกษัตริย์บอลด์วินที่ 2 แห่งอาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ มีราชธิดา 3 พระองค์ และที่น่าสนใจคือครั้งนี้บัลลังก์สืบทอดทางธิดาองค์โตหรือมเหสี และพระสวามีจะครองราชย์แทนกษัตริย์องค์ก่อน

สงครามครูเสดมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างทางความเชื่อในศาสนาแต่ละศาสนา จนทำให้ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งผู้เริ่มต้นคือชาวมุสลิมต้องการครอบครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเลม นอกจากนั้นเหตุผลทางการเมืองก็เป็นอีกสาเหตุของสงครามด้วย เพราะในสมัยนั้นเศรษฐกิจในยุโรบตกต่ำ บิช๊อปผู้นำศาสนาในโรมันคาทอลิกเรืองอำนาจมาก และมีอำนาจเหนือกษัตริย์ และครอบครองทรัพย์สินมหาศาล ขนาดมีความเชื่อในตอนนั้นว่า ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ทุกคนอยากให้บุตรชายของตนเป็นนักบวชเพื่อจะเป็นบิช๊อบ หรือโบ๊ป ผู้นำศาสนา

สงครามครูเสดได้คร่าชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาล เพราะบิช๊อบอ้างว่าเขาสามารถล้างบาปให้กับนักรบครูเสดได้ และอนุญาตให้ปล้น ฆ่า ยึดทรัพย์พวกนอกศาสนาได้ ซึ่งหลัการนี้ไม่มีในพระคำภีร์ไบเบิ้ล อีกทั้งขุนนางในสมัยนั้นต้องการยึดทรัพย์สินของพวกยิวที่ร่ำรวย และต้องการมีอิทธิพลในยุโรบไปจนถึงตะวันออกกลางจึงใช้ข้ออ้างของศาสนามาอ้างในการทำสงครามครั้งนี้

ผลของสงครามครูเสดนี้ฆ่าคนไปจำนวนมากมายนับจากยิวในยุโรบไปจนถึงยิวในเยรูซาเร็ม และทำให้ชาวมุสลิมและคริสเตียนบาดหมางกันทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองศาสนา แม้ทั้งสองจะมีความต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในดินแดนแถบนั้น และสงครามครูเสดทำให้ความขัดแย้งเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ผลของสงครามครูเสดนั้น ทำให้ยุโรปเกิดความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทำให้เกิดการติดต่อระหว่าง โลกตะวันตกและตะวันออก ในรูปแบบการทำการค้า ซึ่งเรียกว่า ยุคปฏิรูปการค้า และ ทำให้เกิดยุค ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ การการสร้างสถาปตยกรรมที่รวมกันของสองศาสนา ตลอดจนความรู้ การศึกษาขึ้นมาด้วย


สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (1147–1149)

ลัทธิศักดินา (Feudalism) ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชียน้อย (Asia Minor )นี้ได้ระบาดในหมู่พวกมุสลิมเช่นกัน พวกมุสลิมชนชาติต่าง ๆ ในตะวันออกกลางต่างก็แก่งแย่งถืออำนาจกัน แตกออกเป็นหลายนคร

อิมาดุดดีน ซังกี (Imaduddin Zangi) ผู้เป็นบุตรคนหนึ่งของ อัก สุนกูร อัลฮาญิบ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองฮะลับ หรืองอเลปโป (ภาษาละติน: Aleppo) ภายใต้อาณาจักรของ มะลิกซาห์ ใน ค.ศ. 1127 ได้เป็นอะตาเบก (เจ้านคร) แห่งโมสุล และต่อมา 1128 ก็ได้รวบรวมอเลปโปเข้าอยู่ใต้อำนาจของตน โดยเข้าข้างกษัตริย์แห่งสัลญูก ซึ่งกำลังแย่งชิงเขตแดนต่าง ๆ ของอาณาจักรอับบาสียะหฺ ในปี ค.ศ. 1135 เขาพยายามตีนครดามัสคัส เมื่อรวบรวมให้อยู่ใต้อำนาจ แต่ก็ไม่สำเร็จ ระหว่างทางที่ถอยทัพกลับไปอเลปโป ก็ได้เข้าตีนครฮิมสฺ เพื่อยึดมาเป็นของตน แต่ตีไม่สำเร็จ สองปีต่อมา ซังกีย้อนกลับมาตีนครฮิมสฺอีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จอีกเช่นกัน ทางนครดามัสคัสเมื่อกลัวว่าซังกีจะยกทัพมาประชิตเมืองอีกครั้ง ก็ได้ผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเยรูซาเลมของพวกครูเสด

ซังกียกทัพไปตีพวกครูเสด จนเกิดปะทะกันที่บารีน ฟูล์ก เจ้าราชอาณาจักรเยรูซาเลมพ่ายแพ้ พากองทัพที่รอดตายหนีออกจากนครเยรูซาเลม ซังกีได้ผูกสัมพันธไมตรีกับนครดามัสคัส เมื่อเห็นว่าตนไม่มีความสามารถที่จะเอาชนะได้ ประกอบกับได้ข่าวว่า จักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) ได้ยึดเอานครอันติออก ที่พวกครูเสดปกครองอยู่นั้น เข้ามาอยู่ในอาณาจักรไบแซนไทน์ และได้ส่งกองทัพมาประชิตเมืองอเลปโปของตน

พวกครูเสดที่ส่งมาโดยจักรพรรดิยอห์น คอมเนนุส (John Comnenus) พวกนี้ยึดเมืองบุซาอะ (Buzaa) ได้ฆ่าพวกผู้ชายทั้งหมดแล้วกวาดต้อนผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส

แม้ซังกีจะวางแผนการเพื่อยึดนครดามัสคัสอีกในเวลาต่อมา ถึงขั้นกับสมรสกับนางซุมุรรุด มารดาเจ้านคร ด้วยการยกเมืองฮิมสฺเป็นสินสอด และต่อมาเจ้านครก็ถูกลอบสังหาร ซังกีก็ไม่อาจจะยึดเอานครดามัสคัสเป็นของตนได้ เวลาต่อมา นครดามัสคัสก็กลับไปรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพวกครูเสดอีกครั้ง และได้ร่วมกันโจมตีกองทัพของซังกีที่บานิยาส

ซังกีได้ยกทัพเข้าตีนครเอเดสสาที่อยู่ภายใต้พวกครูเสดแตกเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1114 จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดครั้งที่ 2

ซังงีถูกทาสรับใช้ของตน ซึ่งเป็นชาวแฟรงก์ ลอบสังหารเมื่อวันที่ 5 เราะบีอุษษานีย์ 541 ตรงกับวันที่ 14 กันยายน 1146 ซังงีมีบุตร 4 คน ล้วนเป็นคนมีความสามารถทั้งสิ้น ในระหว่างความยุ่งยากนี้พวกคริสต์ในเมืองเอเดสสา คิดกบฏฆ่าทหารมุสลิมที่รักษาเมืองและได้รับความช่วยเหลือจากพวกแฟรงก์ ภายใต้การนำของโยสเซลิน (Joscellin) ยึดเมืองเอเดสสาได้ แต่บุตรสองคนของซังงี ชื่อ นูรุดดีน มะฮฺมูด (ฝรั่งเรียก Noradius) ตีเมืองเอเดสสากลับคืนมาได้ พวกที่ก่อกบฏและทหารแฟรงก์ถูกฆ่า พวกอาร์มิเนียนที่เป็นต้นคิดกบฏถูกเนรเทศ และนูรุดดีนสั่งให้รื้อกำแพงเมือง ผู้คนต่างหนีออกจากเมืองจนเมืองเอเดสสากลายเป็นเมืองร้าง

การสูญเสียเมืองเอเดสสาเป็นครั้งที่ 2 นี้ ได้ก่อให้เกิดการโฆษณาขนานใหญ่ในยุโรป นักบุญเซ็นต์เบอร์นาร์ด (Bernard Clairvaux) ซึ่งฉลาดในการพูดและได้ฉายาว่า ปีเตอร์นักพรตคนที่สอง ได้เที่ยวเทศนาปลุกใจนักรบ ให้ร่วมกันป้องกันสถานกำเนิดแห่งศาสนาคริสต์ เหตุนี้ทำให้พวกคริสเตียนตกใจกลัวยิ่งนักว่า พวกสัลญูกตุรกีจะยกทัพมาตียุโรป และตนจะไม่ได้เป็นเจ้าของศาสนสถานในปาเลสไตน์อีก การปลุกใจครั้งนี้ไม่เร้าใจแต่เพียงขุนนาง อัศวินและสามัญชน ซึ่งเป็นส่วนในสงครามครูเสดครั้งแรกเท่านั้น พวกกษัตริย์ต่าง ๆ ก็พลอยนิยมไปด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้ถือเอาสงครามครูเสดเป็นเครื่องเบี่ยงบ่ายการกระทำอันโหดร้าย ต่อพลเมืองบางพวกที่เป็นกบฏต่อพระองค์ กษัตริย์คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันเข้าร่วมทัพด้วย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1147 ข้างพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส มีพระมเหสีร่วมไปในกองทัพด้วย ชื่ออิเลนอร์ (Eleanor of Guienne มเหสีคนนี้ต่อมาไปสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ) การที่ราชินีเข้าร่วมกองทัพด้วยทำให้ผู้หญิงฝรั่งเศสอีกจำนวนมากอาสาเข้ากองทัพครูเสด ซึ่งคราวนั้นมีพลประมาณ 900,000 คน พวกฝรั่งเศสได้กระทำชู้กับหญิงในกองทัพอย่างเปิดเผย กองทัพของสองกษัตริย์ได้รับการต่อต้านและเสียหายอย่างหนัก

ส่วนหนึ่งกองทัพของกษัตริย์คอนราดถูกทำลายที่เมืองลาซิกียะหฺ (ภาษาละติน: Laodicea หรือ Latakia) ส่วนกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ที่ยกมาทางทะเลก็ถูกโจมตียับเยินโดยเฉพาะที่เมืองก็อดมูส (Babadagh ปัจจุบันในตุรกี ภาษาละติน: Cadmus) อย่างไรก็ตามเนื่องจากพวกครูเสดมีกำลังพลมาก จึงเหลือรอดมาถึงเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออก ซึ่งเวลานั้นเรย์มอง ผู้เป็นลุงของราชินีอีเลนอร์ เป็นผู้ปกครองเวลานั้นพวกขุนนางและอัศวินจำนวนมากพักอยู่ในเมืองอันติออกเช่น เคาน์เตสแห่งดูลูส (Countess of blois) เคาน์เตสแห่งรูสสี (Countess of Roussi) ดัชเชสแห่งบุยยอง (Duchess of Bouillon), Sybille แห่งฟแลนเดอร์ส และสตรีของผู้สูงศักดิ์อื่น ๆ อีก แต่จอมราชินีของพวกเขา คือมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 เมื่อพักผ่อนและสนุกสนานกับพวกผู้หญิงเพียงพอแล้ว พวกครูเสดก็ยกทัพเข้าล้อมเมืองดามัสคัส แต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีน และสัยฟุดดีน อัลฆอซี บุตรทั้งสองของซังกี ได้ยกทัพมาช่วย ทั้งกษัตริย์คอนราดแห่งเยอรมนีและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสได้เลิกทัพกลับยุโรป พวกครูเสดต้องล่าทัพกลับบ้านเมืองด้วยความผิดหวังและสูญเสียอย่างหนัก

ส่วนพวกครูเสดที่มาจากพวกยุโรปเหนือ ก็ได้เคลื่อนทัพจนถึงโปรตุเกส แล้วได้ร่วมมือกับกษัตริย์อัลฟอนโซ เพื่อโจมตีนครลิสบอน และขับไล่พวกมุสลิมออกจากนครนี้ในปี 1147

กองทัพครูเสดจากเยอรมันได้เข้าไปโจมตีพวกสลาฝที่อยู่รอบอาณาเขตอาณาจักรเยอรมัน


สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (1187–1192)

ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ ได้ตีเอานครเยรูซาเลมกลับคืนมาเป็นของพวกมุสลิมอีกครั้งในปี 1187

เมื่อศอลาฮุดดีนได้ข่าวพวกแฟรงก์ยกทัพมา จึงประชุมนายทัพโดยให้ความเห็นว่าจะโจมตีพวกนี้ขณะเดินทัพอยู่ แต่พวกนายพลว่าให้ตีเมื่อมาถึงชานเมืองอักกะ (Acre) พวกครูเสดได้ตั้งทัพล้อมเมืองนี้ไว้ และปีกข้างหนึ่งจดทะเล ทำให้สามารถรับเสบียงจากยุโรปได้สะดวก ถ้าศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกนี้ขณะเดินทาง ก็คงไม่ประสบสถาณะคับขันเช่นนี้ พวกตุรกีจากเมืองใกล้ ๆ ก็ยกทัพมาช่วย และในวันที่ 1 ชะอฺบาน 585 (14 กันยายน 1189 ) ศอลาฮุดดีนได้เริ่มโจมตีพวกครูเสด หลานชายของท่านคนหนึ่งชื่อ ตะกียุดดีน ได้แสดงความกล้าหาญมากในการรบ ตอนนี้ทหารศอลาฮุดดีนมีกำลังน้อยกว่าพวกครุเสดมาก เพราะต้องกระจายกำลังป้องกันเมืองหน้าด่านต่าง ๆ เช่นที่ยืนยันเขตแดนติดเมืองตริโปลี, เอเดสสา, อันติออก อเล็กซานเดรีย ฯลฯ ในรอบนอกเมืองอักกานั้น พวกครูเสดถูกฆ่าราว 10,000 คน ได้เกิดโรคระบาดขึ้นเพราะด้วยศพทหารเหล่านี้ เนื่องจากติดพันอยู่การสงคราม ไม่สามารถรักษาที่รบให้สะอาดได้ ศอลาฮุดดีนเองได้รับโรคระบาดนี้ด้วย แพทย์แนะนำให้ถอนทหารและได้ยกทัพไปตั้งมั่นอยู่ที่ อัลคอรรูบะหฺ พวกครูเสดจึงยกทัพเข้าเมืองอักกาและเริ่มขุดคูรอบตัวเมือง

คอลาฮุดดีนได้มีหนังสือไปยังสุลฎอนของมอร็อคโคให้ยกทัพมาสมทบช่วยแต่พวกนี้ได้ปฏิเสธ ในฤดูใบไม้ผลิศอลาฮุดดีนได้ยกทัพมาโจมตีเมืองอักกาอีก พวกครูเสดได้เสริมกำลังมั่นและสร้างหอคอยหลายแห่ง แต่ทั้งหมดถูกกองทัพศอลาฮุดดีนยิงด้วยด้วยลูกไฟ เกิดไฟไหม้ทำลายหมด ตอนนี้กำลังสมทบจากอียิปต์มาถึงทางเรือและกำลังการรบจากที่อื่นมาด้วย พวกแฟรงก์เสียกำลังการรบทางแก่อียิปต์อย่างยับเยิน พวกครูเสดถูกฆ่าและเสียกำลังทัพมาก แต่ในปลายเดือนกรกฎาคม 1190 เคานต์เฮนรี่แห่งแชมเปญ ผู้มีสายสัมพันธ์กับพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพหนุนมาถึง ศอลาฮุดดีนได้ถอยทัพไปตั้งมั่นที่อัลคอรรูบะหฺอีก ได้ทิ้งกองทหารย่อย ๆ ไว้ ซึ่งได้ต่อสู้พวกครูเสดอย่างกล้าหาญ ตอนนี้พวกครูเสดไม่สามารถคืบหน้าได้ จึงจดหมายไปยังโปีปขอให้จัดทัพหนุนมาช่วย พวกคริสเตียนได้หลั่งไหลกลับมาสมทบพวกครูเสดอีกครั้ง เพราะถือว่าการรบ"พวกนอกศาสนา"ครั้งนี้ทำให้ตนถูกเว้นบาปกรรมทั้งหมดและได้ขึ้นสวรรค์ ศอลาฮุดดีนจัดทัพรับมือพวกนี้อย่างเต็มที่ ให้ลูกชายของตนชื่อ อะลีย์ อุษมาน และฆอซี อยู่กลางทัพ ส่วนปีกทางขวาให้น้องชายชื่อสัยฟุดดีนเป็นแม่ทัพ ทางซ้ายให้เจ้านครต่าง ๆ คุม แต่ในวันประจัญบานกันนั้นตัวศอลาฮุดดีนเองป่วย จึงได้เฝ้าดูการสุ้รบจากยอดเขาแห่งหนึ่ง พวกครูเสดถูกตีฟ่ายตกทะเลได้รับความเสียหายอย่างหนัก พวกนี้เริ่มขาดแคลนอาหารและโดยที่ฤดูหนาวย่างเข้ามา จึงพักการรบ

เมื่อถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ คือเดือนเมษายน 1191 พวกครูเสดได้รับทัพหนุนเพิ่มขึ้นอีก โดยพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ยกทัพมา พร้อมกันนั้นพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษก็ยกทัพมาอีกด้วย มีเรือรบมา 20 ลำ เต็มไปด้วยทหารและกระสุน กำลังหนุนของศอลาฮุดดีนมาไม่พร้อม ทหารมุสลิมในเมืองอักกามีกำลังน้อยกว่าจึงขอยอมแพ้พวกครุเสด โดยแม่ทัพมุสลิมมีนคนหนึ่งชื่อ มัชตูบ ผู้คุมกำลังป้องกันอักกาได้อุทรต่อพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแต่ถูกปฏิเสธเว้นแต่ พวกมุสลิมจะยอมยกเมืองเยรูซาเลมให้ พวกมุสลิมจึงกลับสู้รบอีกจนสุดชีวิต ขณะการล้อมเมืองและการสู้รบอยู่เป็นเช่นนี้ได้เกิดโรคระบาดเกิดขึ้น ในที่สุดมีเงื่อนไขว่า พวกมุสลิมจะต้องคืนไม้กางเขน(ดั้งเดิมสมัยพระเยซู) และต้องเสียค่าปรับเป็นทอง 200,000 แท่ง แต่เนื่องจากต้องเสียเวลาหาทองจำนวนเท่านี้ กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ ผู้ที่นักประวัติศาสตร์เคยยกย่องและชื่นชมกันนั้นได้จับทหารมุสลิมจำนวน 27,000 คน ออกจากเมืองและสับต่อหน้าต่อตาคนทั้งหลาย เมืองอักกาตกอยู่ในมือพวกครูเสดที่บ้าศาสนาเหล่านี้ ส่วนทัพศอลาฮุดดีนต้องถอยทัพไปตั้งที่อื่นเพราะกำลังน้อยกว่าและกำลังหนุนไม่มีพอ ตอนหนึ่งมีเรือจากอียิปต์ลำเลียงเสบียงมาช่วย แต่เกือบถูกครูเสดยึดได้ นายเรือจึงสั่งให้จมเรือพร้อมทั้งคนในเรือทั้งหมด

กองทัพครูเสดภายใต้การนำของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ได้บุกไปยังอัสก็อลาน (ภาษาละติน: Ascolon) ศอลาฮุดดีนได้ยกกองทัพไปยันไว้ได้มีการรบกันอย่างกล้าหาญถึง 11 ครั้ง ในการรบที่อัรสูฟ ศอลาฮุดดีนเสียทหารราว 8,000 คน ซึ่งเป็นทหารชั้นดีและพวกกล้าตาย เมื่อเห็นว่าอ่อนกำลังป้องกันปาเลสไตน์ไม่ได้ จึงยกทัพไปยังอัสก็ออลาน อพยพผู้คนออกหมดแล้วรื้ออาคารทิ้ง เมื่อพระเจ้าริชาร์ดมาถึง ก็เห็นแต่เมืองร้าง จึงทำสัญญาสงบศึกด้วย โดยได้ส่งทหารไปพบน้องชายศอลาฮุดดีนชื่อ สัยฟุดดีน (ภาษาละติน: Saphadin) ทั้งสองได้พบกัน ลูกของเจ้านครครูเสดคนหนึ่งเป็นล่าม พระเจ้าริชาร์ดจึงให้บอกความประสงค์ที่อยากให้ทำสัญญาสงบศึก พร้อมทั้งบอกเงื่อนไขด้วย ซึ่งเป็นเงือนไขที่ฝ่ายมุสลิมยอมรับไม่ได้ การพบกันครั้งนั้นไม่ได้ผล

ฝ่ายมาร์ควิสแห่งมองเฟอร์รัดผู้ร่วมมาในกองทัพด้วยเห็นว่าการทำสัญญาโอ้เอ้ จึงส่งสารถึงศอลาฮุดดีน โดยระบุเงื่อนไขบางอย่าง แต่สัญญานี้ไม่เป็นผลเช่นกัน ต่อมาพระเจ้าริชาร์ดขอพบศอลาฮุดดีนและเจรจาเรื่องสัญญาสงบศึกอีก โดยเสนอเงื่อนไขว่า พวกครูเสดต้องมีสิทธิครอบครองเมืองต่าง ๆ ที่ได้ตีไว้ และฝ่ายมุสลิมต้องคืนเยรูซาเลมให้พวกครูเสด พร้อมกับไม้กางเขนที่ทำด้วยไม้ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นไม้ที่พระเยซูถูกพวกยิวตรึงทรมานด้วย ศอลาฮุดดีนปฏิเสธที่จะยกเมืองเยรูซาเลมให้พวกครูเสด แต่ยอมในเรื่องให้เอาไม้กางเขนที่กล่าวในเงื่อนไขที่ว่า พวกครูเสดต้องปฏิบัติตามสัญญาของตนอย่างเคร่งครัด การเจรจานี้ก็ไม่เป็นผลอีกเช่นกัน พระเจ้าริชาร์ดจึงหันไปเจรจากับสัยฟุดดีนใหม่โดยให้ความเห็นว่าการเจรจานี้ จะเป็นผลบังคับเมื่อศอลาฮุดดีนยินยอมด้วยในปั้นปลาย เงื่อนไขมีว่า

1.กษัตริย์ริชาร์ดยินดียกน้องสาวของเขาผู้เป็นแม่หม้าย(แต่เดิมเป็นมเหสีของกษัตริย์ครองเกาะสิซิลี)ให้แก่สัยฟุดดีน(น้องชายศอลาฮุดดีน)

2.ของหมั้นในการสมรสนี้คือ กษัตริย์ริชาร์ดจะยกเมืองทั้งหมดที่พระองค์ตีได้ ตามชายทะเลให้น้องสาวของตน และศอลาฮุดดีนก็ต้องยกเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ให้ น้องชายเป็นการทำขวัญเช่นกัน

3.ให้ถือเมืองเยรูซาเลมเป็นเมืองกลาง ยกให้แก่คู่บ่าวสาวนี้ และศาสนิกของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะใปมาพำนัก อยู่ในเมืองนี้อย่างเสรี บ้านเมืองและอาคารทางศาสนาที่ปรักหังพัง ต่างช่วยกันซ่อมแซม

ศอลาฮุดดีนยอมตามเงื่อนไขนี้ แต่สัญญาก็ไม่เป็นผลอีก เพราะพวกพระในศาสนาคริสต์ไม่ยอมให้พวกคริสเตียนยกลูกสาว, น้องสาว หรือผู้หญิงฝ่ายตนไปแต่งงานกับมุสลิมผู้ที่พวกเขาถือว่าเป็น“พวกนอกศาสนา” พวกบาทหลวงได้ชุมนุมกันที่จะขับพระเจ้าริชาร์ดออกจากศาสนาคริสต์ให้ตกเป็นคน นอกศาสนาไปด้วย และได้ขู่เข็ญน้องสาวของพระองค์ต่าง ๆ นานา

กษัตริย์ริชาร์ดจึงได้เข้าพบสัยฟุดดีนอีก ขอให้เปลี่ยนจากการนับถืออิสลามมาเป็นคริสเตียน แต่สัยฟุดดีนปฏิเสธ ในขณะเดียวกันกษัตริย์ริชาร์ดเกิดการรำคาญการแทรกแซงของมาร์ควิสแห่งมอง เฟอรัด จึงจ้างให้ชาวพื้นเมืองลอบฆ่า เมื่อเรื่องมาถึงเช่นนี้ กษัตริย์ริชาร์ดก็ท้อใจอยากยกทัพกลับบ้าน เพราะตีเอาเยรูซาเลมไม่ได้ ได้เสนอเงื่อนไขที่จะทำสัญญาสงบศึกกับศอลาฮุดดีนไม่ยอมต่อเงื่อนไขบางข้อ เพราะบางเมืองที่กล่าวนั้นมีความสำคัญต่อการป้องกันอาณาจักรอย่างยิ่ง ไม่สามารถปล่อยให้หลุดมือไปได้ แต่ความพยายามของนักรบทั้งสองนี้ยังคงมีต่อไป จนในที่สุดเมื่อวันที่ 22 ชะอฺบาน 588 (2 กันยายน 1192) ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกเป็นการถาวรและกษัตริย์ริชาร์ดได้ยกทัพกลับบ้านเมือง เขายกทัพผ่านทางตะวันออกของยุโรปโดยปลอมตัว แต่กลับถูกพวกเป็นคริสเตียนจับไว้ได้คุมขังไว้ ทางอังกฤษต้องส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวเขา

สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ก็ยุติลงเพียงนี้ ด้วการสูญเสียชีวิตมนุษย์นับแสน ผู้คนนับล้านไร้ที่อยู่ บ้านเมืองถูกทำลาย หลังจากนั้นศอลาฮุดดีนได้ยกทหารกองเล็ก ๆ ไปตรวจตามเมืองชายฝั่ง และซ่อมแซมสถานที่ต่าง ๆ และได้กลับมาพักที่ดามัสคัสพร้อมครอบครัว จนกระทั่งถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 27 ศอฟัร 589 (4 มีนาคม 1193) มีอายุเพียง 55 ปีเอง


ศอลาฮุดดีน (ซาลาดิน)

ภาพวาดซาลาดินจากหนังสืออาหรับในศตวรรษที่ 12สุลต่าน ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่ในระหว่างสงครามครูเสด (สุลต่าน คือกษัตริย์ของชาวมุสลิมซึ่งใช้ ชะรีอะหฺ (กฎหมายอิสลาม)ในการปกครองประเทศ ชาวยุโรปและอเมริกาก็เรียกเขาว่า ซาลาดิน ส่วนชาวมุสลิมยกย่องให้เขาเป็นวีรบุรุษ

มีหนังสือหลายเล่มเขียนเกี่ยวกับศอลาฮุดดีนผู้นี้ โดยเล่าถึงวีรกรรมและชัยชนะในสงคราม เช่นหนังสือชื่อ Daastaan Imaan Farooshoon Ki ซึ่งเขียนเป็นภาษาอูรดูโดยอัลทามาชซึ่งยกย่องศอลาฮุดดีนไว้มากมาย

สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (อังกฤษ: Fourth Crusade) (ค.ศ. 1202-ค.ศ. 1204) เป็นสงครามครูเสด[3][4]ครั้งที่สี่ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1202 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1204 จุดประสงค์แรกของสงครามก็เพื่อยึดเยรูซาเลมคืนจากมุสลิม แต่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1204 นักรบครูเสดจากยุโรปตะวันตกก็เข้ารุกรานและยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์แทนที่ ซึ่งถือกันว่าเป็นวิกฤติการณ์สุดท้ายที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระหว่างอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และ โรมันคาทอลิก


ภูมิหลัง

หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) แล้วทางยุโรปก็หมดความสนใจในการเข้าร่วมในการต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดใหม่ เยรูซาเลมมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid dynasty) ผู้ปกครองซีเรียทั้งหมดและอียิปต์นอกจากเมืองสองสามเมืองริมฝั่งทะเลที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของนักรบครูเสดของราชอาณาจักรเยรูซาเลมที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเคอร์ และในราชอาณาจักรบนเกาะไซปรัสที่ก็ก่อตั้งระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 3

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงได้รับตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาในปี ค.ศ. 1198 และการเข้าร่วมสงครามครูเสดครั้งใหม่กลายมาเป็นพระประสงค์หลักของพระองค์ แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์กี่พระองค์ที่แสดงความสนพระทัยเท่าใดนัก ฝ่ายเยอรมนีเองก็มีความขัดแย้งกับอำนาจของพระสันตะปาปา และอังกฤษและ ฝรั่งเศสก็ยังยุ่งอยู่กับการทำสงครามต่อกัน แต่เมื่อฟุลค์แห่งเนยยี (Fulk of Neuilly) เริ่มเทศน์ก็เริ่มมีผู้กระตือรือร้นรวบรวมกองทัพครูเสดกันในการจัดการแข่งขันการประลองยุทธ (tournament) กันที่เอครี (Écry) โดยธีโอบอลด์ที่ 3 เคานท์แห่งชองปาญ (Theobald III, Count of Champagne) ในปี ค.ศ. 1199 ธีโอบอลด์ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำแต่มาเสียชีวิตเสียก่อนในปี ค.ศ. 1200 โบนิฟาซที่ 1 มาควิสแห่งมอนต์เฟอร์รัต (Boniface I, Marquess of Montferrat) เคานท์จากอิตาลีจึงมารับหน้าที่แทน โบนิฟาซและผู้นำคนอื่นๆ ส่งตัวแทนไปยังสาธารณรัฐเวนิส, สาธารณรัฐเจนัว และในนครรัฐต่างๆ เพื่อเจรจาต่อรองทำสัญญาในหาพาหนะในการเดินทางไปโจมตีอียิปต์ เจนัวไม่สนใจกับข้อเสนอ แต่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1201 ก็มีการเปิดการเจรจากับเวนิสผู้ตกลงขนย้ายทหารครูเสดจำนวน 33,500 คนซึ่งเป็นจำนวนที่ออกจะสูง ข้อตกลงนี้ทางเวนิสต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปีในการเตรียมตัวต่างๆ ที่รวมทั้งการสร้างเรือและฝึกกลาสีผู้ควบคุมเรือ ซึ่งทำให้เมืองเวนิสต้องหยุดยั้งการทำมาหากินอื่นๆ คาดกันว่ากองทัพครูเสดจะประกอบด้วยอัศวิน 4,500 (พร้อมกับม้า 4,500 ตัว), ผู้รับใช้ขุนนาง 9,000 คน และ ทหารราบอีก 20,000 คน

กองทัพครูเสดส่วนใหญ่ที่มาจากฝรั่งเศสเดินทางออกจากเวนิส ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1202 ทหารเหล่านี้มาจากบลัวส์, ชองปาญ, อาเมียงส์, แซงต์โปล, อีล-เดอ-ฟรองซ์ และ เบอร์กันดี นอกจากนั้นก็ยังมีกองทัพจากบริเวณอื่นในยุโรปที่มีจำนวนพอสมควรเช่นที่มาจากฟลานเดอร์ส, มอนต์เฟอร์รัต และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ สังฆราชคอนราดแห่งฮาลเบอร์ชตัท พร้อมทั้งทหารจากเวนิสเองที่นำโดยเอนริโค ดันโดโลดยุคแห่งเวนิส กองทัพมีจุดประสงค์ที่จะมุ่ตรงไปยังศูนย์กลางของมุสลิมที่ไคโรและพร้อมที่จะเดินทางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1202 ข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติโดยสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 โดยมีข้อห้ามการโจมตีรัฐคริสเตียน[5]
สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (อังกฤษ: Fifth Crusade) (ค.ศ. 1217-ค.ศ. 1221) เป็นสงครามครูเสด[1][2]ที่พยายามยึดเยรูซาเลมและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิดในอียิปต์

สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold VI, Duke of Austria) และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี ค.ศ. 1218 กองทัพเยอรมนีที่นำโดยโอลิเวอร์แห่งโคโลญและกองกำลังหลายชาติที่ประกอบด้วยกองทัพชาวเนเธอร์แลนด์, เฟลมมิช และฟรีเชียนที่นำโดยวิลเลียมที่ 1 เคานท์แห่งฮอลแลนด์ (William I, Count of Holland) ก็มาร่วม ในการที่จะโจมตีดามิยัตตาในอียิปต์ฝ่ายครูเสดก็ไปเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมในอานาโตเลียผู้โจมตีอัยยูบิดในซีเรียเพื่อที่ป้องกันไม่ให้นักรบครูเสดต้องเผชิญกับการต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันสองด้าน

หลังจากยึดเมืองท่าดามิเอตตาได้แล้วนักรบครูเสดก็เดินทัพลงใต้ต่อไปยังไคโรในเดือนกรกฎาคมในปี ค.ศ. 1221 แต่ต้องหันทัพกลับเพราะเสบียงร่อยหรอลง การจู่โจมยามกลางคืนของสุลต่านอัล-คามิลทำให้ฝ่ายครูเสดเสียงทหารไปเป็นจำนวนมาก อัล-คามิลตกลงในสัญญาสงบศึกแปดปีกับยุโรป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น