วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

เเพะเมืองผี จ.แพร่

แพะเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่าง ตำบลทุ่งโฮ้งและตำบลน้ำซำ อำเภอเมือง จ.แพร่ ห่างจากตัวเมืองราว 15 ก.ม. บนเส้นทางสาย แพร่-ร่องกวาง แยกตรง กม. ที่9 เข้าไปประมาณ 6 กม. โดยสถานที่ตั้งของ แพะเมืองผี มีลำธารเล็กๆ ไหลผ่าน ในสมัยโบราณเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวบ้าน ตำบลทุ่งโฮ้ง และใกล้เคียงให้ความนับถือมาก เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับ โดยคนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า มียายแก่เข้าไปเที่ยวในป่าหาผักหน่อไม้ มาเป็นอาหาร ได้หลงเข้าไปในที่แห่งนี้แล้วพบหลุมเงินหลุมทอง จึงเอาเงินเอาทอง ใส่หาบจนเต็ม แล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้าน ก็หลงไปหลงมาในป่าแห่งนั้น เพราะเทวดาอารักขาเจ้าถิ่นนั้น ไม่ให้เอาไป เพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายแก่คนนั้น จึงหาหนทางเอาหาบนั้นกลับบ้านไม่ได้ จึงได้วางหาบนั้นไว้แล้วจัดแจงดัดไม้มาคาดทำเป็นราว พอถึงบ้านแล้วจึงกลับไปเอาเงินเอาทอง ตามที่คาดไว้ ออกไปก็ไม่ถึงสักที ยิ่งยกเท้าไปข้างหน้า ก็เหมือนยกถอยหลัง ไปอีกเหมือนหนึ่งว่ามีคนดีหลบข้างหลังยายแก่ จึงวางหาบไว้ที่นั่น แล้วรีบไปบอกชาวบ้านมาดูหาบเงินทองนั้น ชาวบ้านก็หลั่งไหลไปดู เป็นจำนวนมาก ครั้นเมื่อไปถึง เงินทองนั้น กลับหายไปในป่าตามนั้น ก็พบรอยเท้า จึงสะกดรอยตามไปจนถึงข้างเสาเมโร และไม่มีรอยปรากฏออกไปทางอื่นเลย ยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า แพะเมืองผี

หมายเหตุ แพะ ภาษาพื้นเมืองแปลว่า ป่าละเมาะ
เมืองผี หมายถึง ความเงียบเหงาวังเวงเหมือนเมืองผี
เสาเมโร ภาษาพื้นเมือง หมายถึง เสารูปเหมือนปราสาท ที่ใช้ครอบศพผู้ตายทางภาคเหนือ

“ แพะเมืองผี”จึงเป็นพื้นที่เนินเขาที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆเสาดินรูปทรงต่าง ๆคล้ายดอกเห็ด ยอดเจดีย์และจอมปลวก บางส่วนมีแสงสะท้อนระยิบระยับ มีหินสีต่างๆ ผสมอยู่กับเนื้อดินแลดูสวยงาม เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติโดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไปสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 180 – 210 เมตร เสาดินที่มีรูปร่างประหลาดเหล่านี้เกิดจากการกระทำของน้ำไหลและชะชั้นดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน นักธรณีวิทยาได้ประมาณค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าน่าจะอยู่ในยุคควานเทอแนรี่ ซึ่งเป็นยุคค่อนข้างใหม่ มีอายุตั้งแต่ 15 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการเกิดเสาดินเกิดจากหินเซมิคอนโซลอเดเตด คือหินที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่ประกอบด้วยชั้นดินทราย ชั้นหินทราย สลับกันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีความต้านทานต่อการผุพังไม่เท่ากัน เมื่อถูกน้ำฝนชะ ซึมสู่ชั้นหินแล้ว ก็จะถูกกร่อนโดยง่าย เหลือเพียงชั้นที่มีความต้านทานผุพังมากกว่า ส่วนที่เหลือให้เห็นอยู่คือ หน้าผาและเสาดินมีรูปทรงแตกต่างกันก่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น แพะเมืองผีจึงมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งโฮ่ง อำเภอเมืองจังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ประมาณ500 ไร่ ได้รับการจัดตั้งเป็น “ วนอุทยานแพะเมืองผี” จากกรมป่าไม้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2524

ลักษณะทั่วไป : วนอุทยานแพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่น สภาพสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ
จะมีเสาดินรูปร่างประหลาดเกิดจากกระบวนการกระทำของน้ำไหลและชะชั้นดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน นักธรณีวิทยาประมาณ ค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค Quaternary ซึ่งเป็นยุคค่อนข้างใหม่ มีอายุตั้งแต่ 15 ล้านปี จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะการเกิดของเสาดินเกิดจากหินเซมิคอนโซลิเดเตด คือ หินที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่ประกอบด้วยชั้นดินทราย (Siltstone) ชั้นหินทราย (Sandstone) สลับกันเป็นชั้น ๆ

ตำนานแพะเมืองผี : วนอุทยานแพะเมืองผี เมื่อครั้งในอดีตกาลนานมาแล้ว ชาวบ้านขนานนามว่า เป็น “แพะเมืองผี” ไม่มีผู้ใดทราบประวัติเป็นที่แน่นอน แต่ได้เล่าสืบทอดกันมาว่า แต่ก่อนบริเวณป่าแห่งนี้ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธ์ไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่นและสัตว์ป่าน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก

ในสมัยนั้น มีครูบาปัญโญฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำชำ ตำบลน้ำชำ ซึ่งชาวบ้านได้พร้อมใจกันนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดน้ำชำ และได้บอกเล่าประวัติแพะเมืองผีสืบทอดติดต่อกันมาว่า

มีหญิงชราคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ย่าสุ่ม ” เข้าไปหาผัก หน่อไม้ เป็นอาหาร แต่หลงป่าแล้วไปพบหลุมเงิน ทองคำ จึงได้นำเงิน และทองคำ ใส่ถุงแล้วเตรียมหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน ทองคำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบจะกลับบ้านเสร็จแล้วเกิดหลงป่าอีก โดยไม่สามารถนำเอาหาบเงิน คำ ออกมาได้ ย่าสุ่มจึงวางหาบแล้วหาไม้มาคาดเป็นราว (ราวไม้) ต่อมาออกจากป่าจนถึงบ้านและเดินกลับไปราวไม้ที่คาดไว้เป็นแนวทางไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นร่องทางน้ำพบเห็นได้ เป็นแนวออกไปทางบ้านน้ำชำทิศตะวันออกของแพะเมืองผี

ย่าสุ่ม จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้เข้าไปด้วยปรากฏว่า ชาวบ้านก็ได้ติดตามย่าสุ่มเข้าไปถึงจุดที่ย่าสุ่มวางหาบไว้แต่ไม่พบเงินและทองคำ ในหาบแต่อย่าใด ไม่รู้ว่าหายไปได้อย่างไร ชาวบ้านจึงขนานนามสถานที่นั้นว่า “แพะย่าสุ่มคาดราว” และได้ช่วยกันค้นหา พบรอยเท้าคนเดิน ย่าสุ่ม และชาวบ้านได้เดินตามรอยเท้าเหล่านั้นไปจนกระทั่งมาถึงพื้นที่ซึ่งชาวบ้านขนานนามว่า “แพะเมืองผี”

ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือคำว่า “แพะ” ในที่นี้หมายถึงป่าแพะนั่นเอง ส่วนคำว่าเมืองผี ก็เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันสืบมาในสมัยดึกดำบรรพ์ โดยอาจจะเห็นว่าป่าแพะตรงนี้มีลักษณะพิสดารของภูมิประเทศ และเพราะความเร้นลับตามเรื่องราวที่เชื่อถือเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็อาจเป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น