วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปราสาทเทพนิยายแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส


ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley)  ในตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส เคยเป็นดินแดนที่ทรงอิทธิพลของประเทศ   เป็นเสมือนดินแดนในฝันของเจ้าชายเจ้าหญิง   มีปราสาทราชวังใหญ่โตโอฬารที่มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง  เรียกในภาษาฝรั่งเศสว่า ชาโตว์ (chateau หรือในรูปพหูพจน์ chateaux)   ปราสาทเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแสดงออกทางฐานะ และหน้าตาทางสังคม  แสดงถึงความฟุ้งเฟ้อตามสไตล์ฝรั่งเศส

ปราสาทเหล่านี้มีทั้งหมด 300 กว่าหลัง สร้างโดยกษัตริย์ และขุนนางในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10-20 และในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโก้ได้ขึ้นทะเบียนปราสาทแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ให้เป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม



ปราสาทชองบอร์ด (Chambord) เป็นปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในลุ่มแม่น้ำลัวร์ สร้างในสไตล์เรอเนซองส์แบบฝรั่งเศสโดยพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 หลังจากที่พระองค์ได้ครอบครองเมืองมิลานและได้เห็นสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์อิตาลี พระองค์จึงมีพระประสงค์ที่จะสร้างปราสาทให้เป็นที่อิจฉาของยุโรปในสมัยนั้น

พระองค์ทรงโปรดการล่าสัตว์  จึงสร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นในป่าเพื่อสะดวกกับการล่าสัตว์   บริเวณปราสาทจะมีกวาง หมูป่าเดินอยู่รอบ ๆ  หลังจากสวรรคต ปราสาทแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลากว่า 400 ปี



ไม่ไกลจากปราสาทชองบอร์ด จะถึงปราสาทเชอนองโซ (Chenonceau) พระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 โปรดเสด็จมาที่นี่ ต่อมาตกเป็นสมบัติของพระเจ้าอองรีที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 พระเจ้าอองรีที่ 2 ทรงอภิเษกกับพระนางแคเธอรีน (Catherine de Medici) แต่ทรงโปรดสาวงามนางหนึ่งและได้ยกปราสาทเชอนองโซให้เป็นที่อาศัยของพระสนมดิอาน (Diane de Poitiers) ดิอานโปรดปรานปราสาทแห่งนี้มาก ได้สร้างสะพานเชื่อมจากปราสาทไปยังอีกฝั่งของแม่น้ำแชร์



ต่อมาเมื่อพระเจ้าอองรีที่ 2 เสด็จสวรรคต พระนางแคเธอรีนได้ยึดปราสาทเชอนองโซจากพระสนมดิอาน และเสด็จประทับที่ปราสาทแห่งนี้แทน พระนางได้สร้างปราสาทสองชั้นเหนือสะพานของดิอาน ตอนเย็นปราสาทแห่งนี้จะเรืองรองด้วยแสงไฟจากงานเลี้ยงรื่นเริง ซึ่งส่องแสงสะท้อนบนน้ำที่นิ่งสงบของแม่น้ำแชร์


ปราสาทเชอแวร์นี (Cheverny)  สร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1924-1930   ปราสาทแห่งนี้ตกเป็นสมบัติของพระเจ้าอองรีที่ 2  ซึ่งยกให้พระสนมดิอาน  แต่ดิอานโปรดปรานปราสาทเชอนองโซมากกว่า  จึงขายปราสาทแห่งนี้ให้เจ้าของเดิม



ปราสาทอองบัวซ์ (Amboise)  ที่สวยงามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในคริสตศตวรรษที่  11  ครั้งหนึ่งเคยเป็นพระราชวังหลวงในช่วงปีคริสต์ศตวรรษที่ 15-16   กษัตริย์ของฝรั่งเศสหลายพระองค์โปรดที่จะประทับ ณ ปราสาทแห่งนี้   โดยเฉพาะพระเจ้าฟรังซัวร์ที่ 1 ผู้ชักชวนให้ลีโอนาร์โด ดาวินชี มาอยู่ที่เมืองนี้   และได้นำศิลปะแบบเรอเนซองส์ของอิตาลีเข้ามายังบริเวณแถบนี้ด้วย


 บ้านของลีโอนาร์โด ดาวินชี สมัยที่ย้ายมาอยู่ที่ลุ่มน้ำลัวร์  เขาใช้ชีวิตในช่วงสามปีสุดท้ายที่นี่ และสิ้นใจในปี ค.ศ.1519


ปราสาทบลัวส์ (Blois)  ใช้เวลาถึง 4 ศตวรรษในการสร้าง  สถาปัตยกรรมจึงเป็นส่วนผสมของศิลปะในช่วงเวลาดังกล่าว   จริง ๆ ปราสาทบลัวส์ประกอบไปด้วยปราสาท 4 หลังในสไตล์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  เชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกันในศิลปะแบบกอธิกส์  เรอเนซองส์  อิตาเลียน  และ เฟรนช์คลาสสิกสไตล์   ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือบันไดวน และลวดลายศิลปะด้านหน้าอาคาร


ปราสาทอาเซย์-เลอ-ริโด (Azay-le-Rideau)  เป็นปราสาทเล็ก ๆ แต่มีเสน่ห์ดึงดูดมากพอที่จะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ฝรั่งเศสถึงสามพระองค์   สร้างในศิลปะเรอเนซองส์แบบอิตาเลียน  ปัจจุบันปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่ได้รับการบูรณะดูแลดีที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มแม่น้ำลัวร์



ปราสาทอุสเซ่ (Usse)  ด้วยบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติก  ว่ากันว่า Charles Perrault ซึ่งเป็นผู้แต่งนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา  ได้แรงดลใจในการประพันธ์มาจากการเยี่ยมชมปราสาทแห่งนี้ในคริสตศตวรรษที่ 17  ปัจจุบันเจ้าของปราสาทยังคงอาศัยอยู่ที่นี่  แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเพื่อเป็นค่าดูแลและซ่อมแซมปราสาทที่ต้องใช้เงินมหาศาล 



ปราสาทวิลองดรี (Villandry) ล้อมรอบด้วยสวนสวย ๆ แบบเรเนอซองส์


เมืองตูร์ (Tours)  มีประชากร 140,000 คน  ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำลัวร์ทางตอนเหนือและแม่น้ำแชร์ทางตอนใต้   มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน   อาคารส่วนใหญ่ในเมืองจะมีสีขาวหลังคาน้ำเงิน


ในเขตเมืองเก่า ตรงกลางเป็นจัตุรัสชื่อว่า Place Plumereau มีบ้านเรือนในยุคกลางซึ่งบางส่วนเป็นไม้ซุง   มีร้านอาหารและผับตั้งเรียงรายเต็มไปหมด



โบสถ์แห่งเมืองตูร์ สร้างอุทิศแด่บิชอปแซงต์กาเตียง (Saint-Gatien)  เริ่มสร้างในปี ค.ศ.1170 เพื่อแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ในสงครามเมื่อ 4 ปีก่อนหน้านี้   แต่สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบกอธิกส์ยุคศตวรรษที่ 15


รูปกษัตริย์ฝรั่งเศสที่เคยประทับอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำลัวร์แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น